30.11.08
ชุมนุมโยคี ครั้งที่สาม
เนื่องในวาระดิถี
วันดี "สิบมกรา" ห้าสอง
เหล่าโยคีร่วมชุมนุมเฉลิมฉลอง
รวมเหล่าเพื่อนผอง
บนครรลองแห่งการฝึกตน
...
ชุมนุมโยคี ครั้งที่สาม
...
๘.๓๐ ถึง ๑๗.๓๐ น.
ณ เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา
"แค่มาภาวนากัน"
ถ้าจะมาก็สำรองที่ล่วงหน้ากันนิดนึง
ส่งอีเมล์มาที่ shambhala04@gmail.com
ช่วยระบุที่หัวอีเมล์ว่า “สิบมกรา”
ค่าผ่านประตู: ช่วยลงขันกันคนละนิดละหน่อยตามกำลังก็แล้วกัน
จำนวน: ไม่เกินห้าสิบสอง
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมมา:
๑. สายรัดเข่า, เข็มขัด, หรือ ผ้าขาวม้า
๒. อาหาร/ ของว่าง/ ของแจก สำหรับแบ่งปันเพื่อนๆโยคี
๓. เบาะรองก้นที่คุณนั่งถนัดถนี่ (ถ้ามี)
๔. (กับ) เนื้อกับตัว
สิ่งที่ไม่ควรเอามา: รถยนต์
เรือนร้อยฉนำ สวนเงินมีมา: เลขที่ ๖๖๖ ถ.เจริญนคร เป็นตรอกห้องแถว
อยู่ระหว่างซ.เจริญนคร ๒๑ กับ ๒๒ ฝั่งตรงข้ามมีปั๊มเชลล์ ข้างๆมีอู่ซ่อมรถ
แผนที่ตามลิงค์ข้างล่าง
http://www.semsikkha.org/semmain/images/map/roychanum.jpg
28.11.08
จิตตปัญญา ม.อ.
ประกาย
อ่าน "จิตตปัญญา การเรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" โดย น้องผึ้ง
พื้นฐานจิตตปัญญาศึกษา
โดย ณัฐฬส วังวิญญู, วิจักขณ์ พานิช, ฌาณเดช พ่วงจีน
๒๑-๒๓ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
นักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
หาดใหญ่, สงขลา
25.11.08
international conference on buddhism
International Conference on Buddhism in the Age of Consumerism
1-3 December 2008
Organized by
The College of Religious Studies
Mahidol University, Thailand.
The conference will bring together people with diverse areas of expertise to collaborate in the pursuit of happiness for the entire human race in ways that fully take into account the realities of economics, politics, education, psychology and spiritual values. Holding the conference in Thailand where the majority of the population is Buddhist may provide a valuable opportunity to look at the challenge of consumerism against the background of Theravada Buddhist teachings and practices. The participants may see how Thai Buddhists manage to cope with the increasing influence of consumerism on their-lives and society. The conference will also be useful for Buddhists themselves in their struggle to grapple with this reality while remaining faithful to the teachings. Since this struggle is the experience not only of the Buddhists but also of those of other traditions the conference therefore will be useful for them as well.
The conference begins each day with lectures by invited speakers and will later break up into discussion groups to take up the issues presented in the lectures. This will enable participants to join in the discussion on the issue of their interest. Each group will select a representative to report its conclusions in a later plenary session.
Speakers include Alan Wallace, Joanna Macy, Matthieu Ricard.
more info >>>>
19.11.08
สัมผัสแห่งการตื่นรู้ (๒)
16.11.08
หนีน้ำ ถามใจ
คุณรู้ไหม...
เขาว่ากันว่าโลกร้อน
น้ำแข็งขั้วโลกกำลังละลาย
น้ำกำลังจะท่วมกรุงเทพฯ
...
หลายคนเตือนมา
เขาว่าอีกไม่เกิน 10 ปี
แต่บางคนบอกปีหน้า
...
วันก่อนผมหยุดคุยกับแม่ค้าที่ตลาด
เจ๊แกบอกว่า...
"เศรษฐีเมืองกรุงมาซื้อที่บนดอย เตรียมไว้ปลูกบ้านกันแยะ"
...
เชียงรายเป็นหนึ่งในที่ลี้ภัยสินะ
...ผมคิด
...
สำหรับผม
ผมไม่ได้คิดจะมาอยู่เชียงรายเพื่อหนีน้ำ
จึงยังไม่ได้เตรียมซื้อที่เนินไว้ปลูกบ้าน
ยังไม่ได้เตรียมซื้อเรือพาย
หรือห่วงยางไว้สำหรับลูกสาว
...
บางครั้งผมก็มานั่งคิด
ว่าเอ...
ทำไมเราจึงได้ชะล่าใจถึงเพียงนี้
ไม่รีบหาที่ทางกันเหนียวเอาไว้บ้าง
...
น้ำท่วมโลก
โลกวิปริต
ผมคิด...
เกิดขึ้นแน่ๆ
ตายแน่ๆ
ไม่ช้าก็เร็ว ไม่นานเกินรอ
หากผู้อยู่อาศัยในโลก
ยังบริโภคกันแบบนี้
ยังใช้น้ำมันกันแบบนี้
ยังผลิตขยะและของเสียกันแบบนี้
ยังแก่งแย่ง แข่งขันกันแบบนี้
เป็นพลโลกที่ปราศจากจิตสำนึกกันไปเรื่อยๆแบบนี้
...
บอกตรงๆ
บางทีผมเห็นรถราในกรุงเทพฯ
เห็นวิถีชีวิตคนกรุงเทพฯ
เห็นคลองในกรุงเทพฯ
ผมยังคิดเล่นๆว่า
ให้น้ำพัดมาล้างกรุงเทพฯบ้างก็น่าจะดี
แต่มันจะล้างใจที่ด้านชาและสกปรกของคนออกไปได้บ้างไหมนะ
บางที
คงมีเพียงความทุกข์แสนสาหัสเท่านั้น
ที่จะทำให้คนตื่น
...ผมคิด
....
สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ เศรษฐกิจตกต่ำ
บ้านเมืองลุกเป็นไฟ คนไทยฆ่าฟันกัน
โลภ ...โกรธ ...หลง
กับโลกร้อน
คนป่วย โลกก็ป่วยได้
ฟ้าก็บ้าได้ ธรณีก็คลั่งได้
เกิดได้ ก็เจ็บได้ และตายได้เช่นกัน
คุณว่าไหม?
...
เขาว่าการเจริญมรณะสติ
จะทำให้เราตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตมากขึ้น
การเจริญมรณะสติในที่นี้ คงไม่ได้หมายถึง
การดำเนินชีวิตแบบกลัวตายหรือหนีตาย
แพนิค แอนด์ พารานอย (panic and paranoia)
“ไม่ประมาทไว้ก่อน” จนลุกลี้ลุกลนไม่เป็นตัวของตัวเอง
แต่ผมว่า การเจริญมรณะสติ น่าจะหมายถึงอะไรง่ายๆ
อย่างการตระหนักรู้ในทุกลมหายใจเข้าออกที่ว่า
“ความตายมาเยือนเราได้ตลอดเวลา”
“ภัยจะมาเมื่อไรก็ได้”
แล้วไงต่อ
...
น้ำท่วมโลกถือเป็นเรื่องใหญ่
อาจหมายถึง ความตายของอะไรหลายๆอย่าง
ที่ใกล้เข้ามา รอเราอยู่เบื้องหน้า ไม่ช้าก็เร็ว
เมื่อความตายอยู่ตรงหน้า คำถามที่ว่า
“ถ้าพรุ่งนี้อเมริกาจะทิ้งระเบิดปรมาณูลงทั่วประเทศไทย คุณจะย้ายไปอยู่ประเทศไหน?”
“หากคุณกำลังเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย คุณจะไปบำบัดรักษา ยืดเวลาชีวิตกันที่ไหน?”
และ “ถ้าพรุ่งนี้น้ำจะท่วมโลก คุณจะหนีน้ำไปอยู่ไหน?”
มองออกนอกตัวไป แล้วเห็นอะไรในใจบ้าง
...
ได้ยินไหม...
ยังมีเสียงกระซิบอย่างแผ่วเบา เสียงด้านในที่ยังเฝ้าถามใจเราอยู่เสมอ
“ถ้าพรุ่งนี้คุณอาจจะไม่ได้ใช้ชีวิตร่วมกับคนรอบข้างที่คุณรักอีกต่อไป
คุณจะใช้เวลาของวันนี้อย่างไร?”
ผมว่า...
นั่นคือพลังแห่งการดำเนินชีวิตที่ความตายได้มอบให้
…
“น้ำท่วมโลก”
“คนไทยฆ่าฟันกัน”
“สันติภาพกำลังจะสูญสิ้น”
ข้อความเหล่านี้ ไม่ได้เอาไว้เพียงเพื่อมองความเป็นไปในแง่ร้าย
ไม่ได้เอาไว้กระตุ้นต่อมความหวังและความกลัว
สร้างโลกขมุกขมัวให้ใจหมอง
...
คำถามเหล่านี้
เป็นคำถามแห่งความเป็นความตาย
เป็นคำถามที่ไม่ได้ต้องการคำตอบจากนักวิชาการ หรือผู้(สู่)รู้
แต่มันคือ “คำถามแห่งการเปลี่ยนจิตสำนึก”
คำถามที่ปลุกให้คุณตื่น
ที่คำตอบอาจไม่ได้สำคัญเท่ากับการที่ได้ถาม
“เราเกิดมาทำไม”
“หากวันหนึ่งเราต้องตาย แล้ววันนี้เราจะมีชีวิตอยู่อย่างไร”
คนทุกคนควรจะได้มีเวลาถามตัวเอง ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที และทุกชั่วขณะ
ทุกลมหายใจเข้าออกที่เรายังสามารถดำเนินชีวิตเป็นปกติไปได้ในแต่ละวัน
เป็นคำถามที่เราควรจะถามในทุกครั้งที่เราใช้จ่าย ทุกครั้งที่เราใช้รถ ทุกครั้งที่เราเลือกส.ส.เข้าไปในสภา
… ถือเป็นมรณานุสติ
...
น้ำจะท่วมโลกพรุ่งนี้แล้ว...
วันนี้เราได้ทำอะไรเพื่อคนรอบข้าง และวิกฤตจิตสำนึกที่กำลังเกิดขึ้นบ้าง
น้ำท่วมหน้าบ้านคุณแล้ว...
คุณรู้สึกอะไรในใจบ้างกับความทุกข์ร่วมของเพื่อนมนุษย์ในครั้งนี้
...
อย่างน้อยก่อนจะหาทางหนีทีไล่
ขอได้เปิดพื้นที่ว่างๆของใจ
ไว้สำหรับการใคร่ครวญความรู้สึก ความหมาย และคุณค่าของการมีชีวิตอยู่ดูบ้าง
อย่าเอาแต่ตั้งหน้าตั้งตาหนีน้ำ ขึ้นเรือพาย...
แล้วกลับไปใช้ชีวิตเวียนว่าย บริโภคเผลอไผลอย่างไร้สติ บนดอยแถวเชียงรายกันต่อไป
...
อย่างกะหนังไททานิค
ผมคิด...
โดย วิจักขณ์ พานิช
ในหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
คอลัมน์จิตวิวัฒน์
วันเสาร์ที่ ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
8.11.08
6.11.08
จดหมายข่าววัชรปัญญาประจำเดือนตุลาคม ๒๕๕๑
หายหน้าหายตาไปตลอดเดือนตุลาคม เนื่องด้วยเว้นเวลาไว้ให้กับการภาวนาของตัวเองบ้าง การเข้าฝึกเดี่ยวกับตนเองเช่นนี้ เสมือนเป็นการชำระล้างรากฐานของการเดินทางด้านในให้สะอาดบริสุทธิขึ้น ซึ่งส่วนตัวผมเห็นว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากสำหรับคนที่ทำงานเกี่ยวข้องกับเรื่องทางจิตวิญญาณ เราไม่อาจเฝ้าบอกตัวเองได้อย่างจริงใจตลอดเวลาว่า การทำงานคือการปฏิบัติธรรม หรือ การภาวนาคือการฝึกสติในทุกขณะ หรือ ทุกย่างก้าวคือการเรียนรู้ เพราะคนทำงานลักษณะนี้มีสิ่งที่น่ากลัวอย่างยิ่ง นั่นก็คือ กลไกการหลอกตัวเองที่ซับซ้อนขึ้นของอัตตา ที่สามารถดึงเอาเรื่องทางจิตวิญญาณ มาสนองความต้องการของตัวตนทางจิตวิญญาณ ให้ฟูฟ่องขึ้นโดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านตรุงปะเรียกกลเกมอันนี้ว่า "วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ" ซึ่งผมมองว่าเป็นคำสอนที่สำคัญมากต่อการสืบต่อสายธารแห่งพุทธธรรมอันบริสุทธิ์ในสังคมไทยเรา
คุณค่าทางจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแห่งการละ การสละ การให้ การยอมรับ การปล่อยว่าง ในชั้นที่ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเราพัฒนาตนเองมากขึ้น กับดักก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย คุณค่าทางจิตวิญญาณที่แท้จะปรากฏขึ้นในใจของเราเพียงเท่านั้นท่ามกลางการสุกงอมของกรรมตามเหตุตามปัจจัย หาได้มีกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือการประเมินจากภายนอก ที่จะบอกเราได้ว่าอะไรคือ เส้นทางการเติบโตทางจิตวิญญาณที่สูงส่ง อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิด ที่ควรทำหรือไม่ควรทำ และการที่จะเชื่อใจตนเองได้อย่างแท้จริง สามารถยอมรับและจริงใจกับเส้นทางการแสวงหาสัจจะของเราได้อย่างแท้จริง การพัฒนาจิตสำนึกด้านสว่าง จึงต้องเกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการยอมรับแนวโน้มในด้านมืด (shadow) ด้วยเสมอ จึงจะทำให้เกิดดุลยภาพของการเดินทางด้านใน ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน นั่นคือสาเหตุที่ว่าทำไมการเข้าฝึกเข้มจึงจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานด้านจิตวิญญาณ
การละ บางครั้งหมายถึงการปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง และบางครั้งหมายถึงการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ บางครั้งหมายถึงการเข้าไปเผชิญและต่อสู้ และบางครั้งอาจหมายถึงการถอย ไม่มีใครจะบอกได้ว่าอะไรคือเส้นทางการละวางตัวตนของคนผู้นั้น แต่สำหรับในสายธรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านตรุงปะ และเร้จจี้ อาจารย์ทั้งสองจะเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการ "เข้าๆออกๆ" เพื่อที่จะไม่ให้มีแม้กระทั่ง "ที่ยืน" ให้กับตัวตนทางจิตวิญญาณ ไม่มีสถานะที่สะดวกสบายให้กับความคาดหวังใดๆ แม้กระทั่งต่อการปฏิบัติธรรมหรือความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกอย่างถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีขึ้นไม่มีลง ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีดีกว่าหรือเลวกว่า ทั้งขาวและดำ ทั้งมืดและสว่าง จนเราสามารถไว้วางใจทุกท่วงทำนองของชีวิตด้านใน ดำรงอยู่ในความวิเวก ความโดดเดี่ยว และเสียงด้านในที่เต็มเปี่ยมอย่างไม่อาจถูกสั่นคลอนได้
วัชรยานจึงไม่ได้เป็นแค่อะไรที่ดูโก้เก๋ หรือ เจ๋ง ในแง่ของหลักการที่ตัดผ่านทะลุุทะลวงเพียงเท่านั้น กว่าเราจะสัมผัสประสบการณ์แห่งการ "ไม่เป็นอะไรเลย" พร้อมกับ "เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง" ได้ มันต้องอาศัยหยาดเหงื่อและการอุทิศตนอย่างถึงที่สุด เวลากว่าพันกว่าหมื่นชั่วโมงที่เราหมดไปกับการนั่งเฉยๆ ดำรงอยู่กับเนื้อกับตัวอย่างไม่หวั่นไหว เวลาที่เราหมดไปกับการเฝ้าตามหลักการ ความคิด ความฝัน ที่ไม่มีวันจะเป็นเนื้อเป็นตัวขึ้นมาได้ กว่าที่เราจะตระหนักถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่เรามีอยู่ในใจอย่างเต็มเปี่ยมโดยที่เราไม่จำเป็นต้องออกไปมองหาที่ไหน เราก็ต้องตายแล้วตายอีก ผิดหวังและผิดหวังอีก จนท้ายที่สุดเราจึงเข้าใจ และกลับมาดำรงอยู่ ณ รากฐาน ---- the groundless ground, the wild place ป่าช้าอันเวิ้งว้างแห่งหุบเขาพราวแสง ที่ซึ่งการเดินทางด้านในจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยใจที่จริงแท้มั่นคง โดยที่เราไม่ต้องกระเสือกกระสน ดิ้นรน พยายามที่จะเป็นอะไรเลยแม้แต้น้อย
ขอให้เพื่อนๆมีพลังแห่งศรัทธาในตนเองเสมอ
ท่ามกลางการขึ้นๆลงๆของการเดินทาง
วิจักขณ์
คุณค่าทางจิตวิญญาณเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน เส้นทางนี้เป็นเส้นทางแห่งการละ การสละ การให้ การยอมรับ การปล่อยว่าง ในชั้นที่ละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ ยิ่งเราพัฒนาตนเองมากขึ้น กับดักก็ยิ่งซับซ้อนมากขึ้นตามไปด้วย คุณค่าทางจิตวิญญาณที่แท้จะปรากฏขึ้นในใจของเราเพียงเท่านั้นท่ามกลางการสุกงอมของกรรมตามเหตุตามปัจจัย หาได้มีกฏเกณฑ์ มาตรฐาน หรือการประเมินจากภายนอก ที่จะบอกเราได้ว่าอะไรคือ เส้นทางการเติบโตทางจิตวิญญาณที่สูงส่ง อะไรคือสิ่งที่ถูกหรือสิ่งที่ผิด ที่ควรทำหรือไม่ควรทำ และการที่จะเชื่อใจตนเองได้อย่างแท้จริง สามารถยอมรับและจริงใจกับเส้นทางการแสวงหาสัจจะของเราได้อย่างแท้จริง การพัฒนาจิตสำนึกด้านสว่าง จึงต้องเกิดขึ้นไปพร้อมๆกับการยอมรับแนวโน้มในด้านมืด (shadow) ด้วยเสมอ จึงจะทำให้เกิดดุลยภาพของการเดินทางด้านใน ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน นั่นคือสาเหตุที่ว่าทำไมการเข้าฝึกเข้มจึงจำเป็นมากสำหรับคนที่ทำงานด้านจิตวิญญาณ
การละ บางครั้งหมายถึงการปล่อยวางจากทุกสิ่งทุกอย่าง และบางครั้งหมายถึงการเข้าไปสร้างความสัมพันธ์ บางครั้งหมายถึงการเข้าไปเผชิญและต่อสู้ และบางครั้งอาจหมายถึงการถอย ไม่มีใครจะบอกได้ว่าอะไรคือเส้นทางการละวางตัวตนของคนผู้นั้น แต่สำหรับในสายธรรมที่ถูกถ่ายทอดมาจากท่านตรุงปะ และเร้จจี้ อาจารย์ทั้งสองจะเน้นย้ำให้เห็นความสำคัญของการ "เข้าๆออกๆ" เพื่อที่จะไม่ให้มีแม้กระทั่ง "ที่ยืน" ให้กับตัวตนทางจิตวิญญาณ ไม่มีสถานะที่สะดวกสบายให้กับความคาดหวังใดๆ แม้กระทั่งต่อการปฏิบัติธรรมหรือความสำเร็จในชีวิตทางโลก ทุกอย่างถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่มีขึ้นไม่มีลง ไม่มีนอกไม่มีใน ไม่มีดีกว่าหรือเลวกว่า ทั้งขาวและดำ ทั้งมืดและสว่าง จนเราสามารถไว้วางใจทุกท่วงทำนองของชีวิตด้านใน ดำรงอยู่ในความวิเวก ความโดดเดี่ยว และเสียงด้านในที่เต็มเปี่ยมอย่างไม่อาจถูกสั่นคลอนได้
วัชรยานจึงไม่ได้เป็นแค่อะไรที่ดูโก้เก๋ หรือ เจ๋ง ในแง่ของหลักการที่ตัดผ่านทะลุุทะลวงเพียงเท่านั้น กว่าเราจะสัมผัสประสบการณ์แห่งการ "ไม่เป็นอะไรเลย" พร้อมกับ "เป็นทุกสิ่งทุกอย่าง" ได้ มันต้องอาศัยหยาดเหงื่อและการอุทิศตนอย่างถึงที่สุด เวลากว่าพันกว่าหมื่นชั่วโมงที่เราหมดไปกับการนั่งเฉยๆ ดำรงอยู่กับเนื้อกับตัวอย่างไม่หวั่นไหว เวลาที่เราหมดไปกับการเฝ้าตามหลักการ ความคิด ความฝัน ที่ไม่มีวันจะเป็นเนื้อเป็นตัวขึ้นมาได้ กว่าที่เราจะตระหนักถึงคุณค่าทางจิตวิญญาณที่เรามีอยู่ในใจอย่างเต็มเปี่ยมโดยที่เราไม่จำเป็นต้องออกไปมองหาที่ไหน เราก็ต้องตายแล้วตายอีก ผิดหวังและผิดหวังอีก จนท้ายที่สุดเราจึงเข้าใจ และกลับมาดำรงอยู่ ณ รากฐาน ---- the groundless ground, the wild place ป่าช้าอันเวิ้งว้างแห่งหุบเขาพราวแสง ที่ซึ่งการเดินทางด้านในจะสามารถดำเนินไปได้ด้วยใจที่จริงแท้มั่นคง โดยที่เราไม่ต้องกระเสือกกระสน ดิ้นรน พยายามที่จะเป็นอะไรเลยแม้แต้น้อย
ขอให้เพื่อนๆมีพลังแห่งศรัทธาในตนเองเสมอ
ท่ามกลางการขึ้นๆลงๆของการเดินทาง
วิจักขณ์
5.11.08
"ก่อนพุทธศาสนาอายุครบ ๒๖ ศตวรรษ"
ทุกวันนี้พุทธศาสนาถูกตีความให้แคบจนเหลือแต่ด้านเดียวคือมิติด้านลึก (หรือยิ่งกว่านั้นคือเหลือแต่เพียงประเพณีพิธีกรรม ซึ่งเป็นความตื้นอย่างยิ่ง) การตีความเช่นนั้นเป็นการตีกรอบพุทธศาสนาให้มีบทบาทแคบลง คือไม่สนใจชะตากรรมของสังคม การจำกัดตัวเช่นนี้นอกจากจะทำให้วัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดเฟื่องฟูและซึมลึกแล้ว ยังเป็นผลเสียต่อพุทธศาสนาเอง เพราะสังคมที่ถูกครอบงำด้วยวัฒนธรรมแห่งความละโมบและความโกรธเกลียดนั้น ย่อมบั่นทอนพลังของพุทธศาสนาเอง และทำให้พื้นที่ในการปฏิบัติธรรมของชาวพุทธแคบลง จนแม้แต่การรักษาตนให้มีคุณธรรมก็จะเป็นไปได้ยากขึ้น ดังทุกวันนี้ผู้คนพบว่าตนยากที่จะครองตนให้มีความซื่อสัตย์สุจริตได้ในเวลาทำงาน เพียงแค่อยู่บนท้องถนนก็ยากจะมีน้ำใจเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่นได้ แต่ต้องเห็นแก่ตัวจึงจะอยู่รอดได้ กลายเป็นว่าจะเป็นคนดีได้ก็เฉพาะเวลาอยู่ในบ้านเท่านั้น และนับวันการทำความดีหรือมีน้ำใจแม้แต่ในบ้านก็เป็นเรื่องยาก เพราะต่างแสวงหาประโยชน์จากกันและกัน การเอาเปรียบและใช้ความรุนแรงในบ้านจึงมีแนวโน้มมากขึ้น สิ่งที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เตือนไว้เกือบ ๓ ทศวรรษมาแล้ว จึงใกล้จะเป็นความจริงขึ้นทุกที กล่าวคือ ชาวพุทธกำลังอยู่ในสภาพเป็นฝ่ายตั้งรับและถอยร่นไปเรื่อยๆ "เหมือนหนีไปรวมกันอยู่บนเกาะที่ถูกน้ำล้อมรอบ ขาดจากชาวมนุษย์อื่น" และต่อไปอาจถึงขั้นว่า "การปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนาไม่อาจเป็นไปได้เลย
<อ่านทั้งหมด>
จาก "ก่อนพุทธศาสนาอายุครบ ๒๖ ศตวรรษ"
โดย พระไพศาล วิสาโล
คอลัมน์ มองอย่างพุทธ
มติชนรายวัน ฉบับวันที่ ๑๙ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เรียนรู้ไปกับกาย
เป็นบทความที่ดีมากชิ้นนึงเลยครับ แสดงถึงความมหัศจรรย์ของการเรียนรู้ชีวิตผ่านกายได้ดีเยี่ยม
"กายมีมิติให้เราเข้าไปค้นหาและผจญภัยได้ไม่รู้จบ ขอเพียงเรายอมให้กายและใจเป็นผู้นำทาง แล้วเราจะได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่มีคุณค่า อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กายนั้นคิดเหมือนสมองไม่ได้ แต่หลายครั้งเราก็เคยคาดหวังจะให้กายทำอะไรดีๆ หรู ๆ เหมือนสมอง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม กายมีภูมิปัญญาของตนเองพอที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ หากเพียงเราไว้วางใจกายอย่างเต็มที่ ขอเพียงให้เราเปิดโอกาสให้กายได้พูดและแสดงบทบาทของมันออกมาอย่างตรงไปตรงมา ในระยะยาว เราสามารถสร้างเสริมบุคลิกภาพของเราเองด้วยสิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ ใช้ท่าทีทั้งด้านกาย ใจ และความคิดได้อย่างเหมาะสมและสมดุล เพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ดีขึ้นได้ และนี่เองคือการเรียนรู้ที่เราได้เปิดพื้นที่ออกไปให้กว้างกว่าพื้นที่ของการคิด กลายเป็นการเรียนรู้ด้วยกายและใจอย่างใคร่ครวญ ลุ่มลึกและรอบด้าน เป็นการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงที่นำไปสู่การสืบค้นมิติด้านในของตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยงมิติต่างๆ ในความเป็นจริงของธรรมชาติ อันนำไปสู่การเกิดปัญญาแห่งการดำเนินชีวิต ซึ่งก็คือแนวคิดของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษานั่นเอง"
จาก "เรียนรู้ไปกับกาย"
โดย สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
"กายมีมิติให้เราเข้าไปค้นหาและผจญภัยได้ไม่รู้จบ ขอเพียงเรายอมให้กายและใจเป็นผู้นำทาง แล้วเราจะได้รับประสบการณ์ต่างๆ ที่มีคุณค่า อย่างที่กล่าวไว้ข้างต้น กายนั้นคิดเหมือนสมองไม่ได้ แต่หลายครั้งเราก็เคยคาดหวังจะให้กายทำอะไรดีๆ หรู ๆ เหมือนสมอง ซึ่งเป็นความคาดหวังที่ผิดพลาด อย่างไรก็ตาม กายมีภูมิปัญญาของตนเองพอที่จะสร้างสรรค์สิ่งต่างๆ ได้ หากเพียงเราไว้วางใจกายอย่างเต็มที่ ขอเพียงให้เราเปิดโอกาสให้กายได้พูดและแสดงบทบาทของมันออกมาอย่างตรงไปตรงมา ในระยะยาว เราสามารถสร้างเสริมบุคลิกภาพของเราเองด้วยสิ่งที่ได้เรียนรู้เหล่านี้ ใช้ท่าทีทั้งด้านกาย ใจ และความคิดได้อย่างเหมาะสมและสมดุล เพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์ต่างๆ ที่ดีขึ้นได้ และนี่เองคือการเรียนรู้ที่เราได้เปิดพื้นที่ออกไปให้กว้างกว่าพื้นที่ของการคิด กลายเป็นการเรียนรู้ด้วยกายและใจอย่างใคร่ครวญ ลุ่มลึกและรอบด้าน เป็นการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงที่นำไปสู่การสืบค้นมิติด้านในของตนเอง และเป็นการเรียนรู้อย่างเปิดกว้างและเชื่อมโยงมิติต่างๆ ในความเป็นจริงของธรรมชาติ อันนำไปสู่การเกิดปัญญาแห่งการดำเนินชีวิต ซึ่งก็คือแนวคิดของการเรียนรู้แบบจิตตปัญญาศึกษานั่นเอง"
จาก "เรียนรู้ไปกับกาย"
โดย สมสิทธิ์ อัสดรนิธี
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒ พฤศจิกายน ๒๕๕๑
3.11.08
ลวง
เมื่อเจนจิราเผยกลเกมการลวงใจตน...
"...การที่เราจะแหวกม่านมายา ภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้นมาเองนั้นเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และเราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดกับมันมากมาย แต่เมื่อรับรู้ว่าในตัวเรามีมุมของการลวงหลอกตัวเองและผู้อื่นซุกซ่อนอยู่ สิ่งที่เราจะทำได้คือต้องอ่อนโยนกับตัวเองให้มาก ลดการกล่าวโทษหรือตัดสินตัวเองที่เป็นคนอย่างนี้ เพราะการที่เราเลือกใช้วิธีการเช่นนี้ทำให้เราสามารถดำรงตนอยู่ได้ในทุกวันนี้ การที่เราไม่ได้รับฟังหรือทำตามเสียงภายในตัวตนที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกหรือผิด เพียงแค่เพราะเราหลงลืมที่จะเอาใจใส่ตัวเอง เรามักเลือกที่จะฟังเสียงคนอื่น ความต้องการของคนอื่นมากกว่าตัวเอง เพียงเพราะเรากลัว กลัวที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราพูดความคิด ความรู้สึกที่แท้จริง กลัวว่าจะบางสิ่งที่ไม่เป็นไปอย่างที่ใจคิดวาดหวัง กลัวว่าถ้าพูดสิ่งที่เป็นความปรารถนาในใจของเราออกไปแล้วเราจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ไม่น่ารัก ไม่เป็นคนดี เราวาดความกลัวไว้ก่อนเสมอแล้วเอาความกลัวนั้นมาห่อหุ้มตัวตนอันเปราะบางของเราไว้..."
จาก "ลวง"
โดย เจนจิรา โลชา
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
"...การที่เราจะแหวกม่านมายา ภาพลวงตาที่เราสร้างขึ้นมาเองนั้นเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก และเราอาจจะรู้สึกเจ็บปวดกับมันมากมาย แต่เมื่อรับรู้ว่าในตัวเรามีมุมของการลวงหลอกตัวเองและผู้อื่นซุกซ่อนอยู่ สิ่งที่เราจะทำได้คือต้องอ่อนโยนกับตัวเองให้มาก ลดการกล่าวโทษหรือตัดสินตัวเองที่เป็นคนอย่างนี้ เพราะการที่เราเลือกใช้วิธีการเช่นนี้ทำให้เราสามารถดำรงตนอยู่ได้ในทุกวันนี้ การที่เราไม่ได้รับฟังหรือทำตามเสียงภายในตัวตนที่แท้จริงของเรานั้น ไม่ใช่สิ่งที่ถูกหรือผิด เพียงแค่เพราะเราหลงลืมที่จะเอาใจใส่ตัวเอง เรามักเลือกที่จะฟังเสียงคนอื่น ความต้องการของคนอื่นมากกว่าตัวเอง เพียงเพราะเรากลัว กลัวที่จะเผชิญกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อเราพูดความคิด ความรู้สึกที่แท้จริง กลัวว่าจะบางสิ่งที่ไม่เป็นไปอย่างที่ใจคิดวาดหวัง กลัวว่าถ้าพูดสิ่งที่เป็นความปรารถนาในใจของเราออกไปแล้วเราจะกลายเป็นคนที่เห็นแก่ตัว ไม่น่ารัก ไม่เป็นคนดี เราวาดความกลัวไว้ก่อนเสมอแล้วเอาความกลัวนั้นมาห่อหุ้มตัวตนอันเปราะบางของเราไว้..."
จาก "ลวง"
โดย เจนจิรา โลชา
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๕๕๑
2.11.08
เรื่องทุกข์
Subscribe to:
Posts (Atom)