31.12.07

ไม่รู้เสียดีกว่า



หากเรามองเรื่องคุณค่าทางจิตวิญญาณ ในแง่มุมของหลักศาสนา
เราอาจมองว่า อวิชชา หรือ ความไม่รู้ เป็นบ่อเกิดแห่งทุกข์

แต่หากเรามองเรื่องคุณค่าทางจิตวิญญาณ ในฐานะส่วนหนึ่งของเส้นทางชีวิต
ความน่าตื่นเต้นของการเดินทาง ก็คือ ความไม่รู้ นั่นเอง

เมื่อเราตระหนักว่าเราไม่รู้ ชีวิตก็จะเปี่ยมไปด้วยความตื่นที่จะเรียนรู้อยู่เสมอ
ประสบการณ์ตรงบนพื้นฐานของความไม่รู้ ในเส้นทางการแสวงหาที่ทอดยาว
ดูจะมีคุณค่าทางจิตวิญญาณยิ่งกว่าการรอบรู้ในหลักศาสนาเป็นไหนๆ

วิจักขณ์

10.12.07

สายสัมพันธ์



ความคิดหรือหลักการที่เรามีในเรื่องของความรักหรือความสัมพันธ์จำเป็นจะต้องถูกทำลายไปด้วยสถานการณ์จริงในชีวิต เพราะเมื่อเราเอาตนเองลงไปนัวเนียกับมัน เราจะตระหนักได้ว่าที่คิดๆไว้ดูจะใช้การอะไรไม่ค่อยได้

เราอาจจะเคยคิดว่าความสัมพันธ์ที่เปี่ยมไปด้วยคุณค่าและความหมาย จะเกิดขึ้นได้แต่กับพวกที่ก้าวหน้าทางจิตวิญญาณสูงๆเท่านั้น แต่จริงๆแล้วมันก็เป็นเช่นนั้นแหละ มันเป็นเรื่องสามัญที่เกิดขึ้นกับทุกคนอยู่แล้ว เราจำเป็นต้องเปลี่ยนมุมมองกันใหม่และเข้าใจว่า สิ่งที่เลวร้ายหาได้เป็นเรื่องของความรัก แต่คือหลักอ้างอิงเชิงหลักการร้อยแปดที่มีอยู่ในหัว การยึดมั่นว่าความสัมพันธ์ควรเป็นอย่างนั้นอย่างนี้เป็นสิ่งที่ทำลายล้างคุณค่าและความหมายของประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นต่อจิตใจเรา จนเราอาจจะเหมาไปว่ารักแท้ไม่มีจริง

แต่คุณไม่ต้องกังวลหรอก เพราะประสบการณ์แห่งความว่างและความไร้ตัวตนจากการภาวนา จะเป็นเชื้อไฟให้กับความรักและสายสัมพันธ์ที่จะค่อยๆแตกยอดขึ้นในจิตใจที่ตื่นรู้ของคุณอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

[แต่ต้องอย่ากลัวเจ็บ นะคร้าบบบ...]

เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช

love in guru



Love him... by giving up all weapons and defenses
and being as empty and nonexistent as he was.
Love him... by loving this world moment by moment as he did,
by not resisting, by giving in
to what is most painful, frightening and threatening

and maybe by moving through this life as slowly as he did.

dedication from rr to ctr

9.12.07

vajra confidence



in Vajrayana, there is no "hoo-ha."
everything is upto you.
it is your choice.

if you do it, you just do it.

Chogyam Trunpga

4.12.07

empty vessel



you can’t be a teacher unless you care about people.
you can’t care about people unless you go very very slow.
you can’t go very very slow unless you have nothing you're trying to accomplish.
you can’t have nothing you are trying to accomplish unless you abide in the fundamental freedom simultaneously.


reggie ray

1.12.07

บนเส้นทางแห่งการฝึกตน


โดย วิจักขณ์ พานิช
[รายละเอียดทั้งหมด..คลิ๊กที่นี่]

“บนเส้นทางแห่งการฝึกตน” เป็นพื้นที่สำหรับกัลยาณมิตรในแวดวงจิตตปัญญาศึกษา พุทธศาสนาเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม และบุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในเรื่องของการเรียนรู้ด้านใน ให้ได้มาพบปะพูดคุยและภาวนาร่วมกัน กิจกรรมจะประกอบด้วยการนั่งสมาธิภาวนาและเทคนิคที่หลากหลายเพื่อการเข้าไปสัมผัสพลังแห่งการตื่นรู้ในกาย สลับกับการนำเสนอแนวทางการปฏิบัติและความเข้าใจพื้นฐานโดยวิทยากร และการถามตอบคำถาม พูดคุย และแลกเปลี่ยนประสบการณ์การปฏิบัติของผู้เข้าร่วม ด้วยภาษาในชีวิตประจำวันที่เข้าใจได้ง่าย

บนเส้นทางแห่งการฝึกตนในครั้งแรก ใช้ชื่อตอนว่า ชัมบาลา: การเดินทางของนักรบ โดยจะนำเสนอคุณค่าของการภาวนาที่ฝึกฝนกันในสายการปฏิบัติของเชอเกียม ตรุงปะ และการถอดความเข้าใจจากหนังสือของเชอเกียม ตรุงปะที่ชื่อ “ชัมบาลา: การเดินทางของนักรบ” จากประสบการณ์ตรงของวิทยากร เพื่อให้เกิดความเข้าใจกระบวนการภาวนาในฐานะการเดินทางทางจิตวิญญาณ และการเรียนรู้พื้นฐานของชีวิต

สถานที่ เรือนร้อยฉนำ คลองสาน
ครั้งที่ ๑: ๑๖-๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๑
ครั้งที่ ๒: ๘-๙ มีนาคม ๒๕๕๑
และรีทรีท (เข้าฝึกเข้ม): วันที่ ๒๗-๓๐ มีนาคม ๒๕๕๑ ที่เรือนไทย หมู่บ้านเด็ก จ.กาญจนบุรี

ค่าลงทะเบียน ๘๐๐ บาท (ไม่รวมค่าอาหารและที่พัก)
รีทรีท: ๓๕๐๐ บาท (รวมค่าเดินทาง อาหาร และที่พัก)

สอบถามรายละเอียด หรือสำรองเข้าร่วมอบรมได้ที่
เสมสิกขาลัย สำนักงานรามคำแหง
ฐิติรัตน์ จันทร์เนียม หรือ เจนจิรา โลชา
02-314 7385- 6
semsikkha_ram@yahoo.com

GM


30.11.07

interview with vichak II

another interview about my view on buddhadharma in Modern Thailand.

this will be published on "PostToday" this upcoming sunday.




“ในตัวบริบทของพุทธศาสนาที่จริงแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยน มันคือธรรมะของการที่จะทำให้คนตื่นออกมาจากหลักการความคิดหรือความคาดหวังต่างๆ สู่ประสบการณ์ตรงของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งที่มีเจ็บ มีปวด มีทุกข์ มีสุข ซึ่งพุทธศาสนาในแง่นี้คือ “ตื่น” ตื่นรู้ที่จะสัมผัสชีวิต แต่ภาษาในตอนนี้ที่ไม่สามารถสื่อถึงความตื่นตรงนั้นได้ เพราะตัวภาษาของพุทธศาสนาเองกลับไปสื่อสารถึงกรอบ กลับไปสื่อสารถึงหมวก กลับไปสื่อสารถึงความเป็นศาสนาที่ไปครอบกระบวนการตรงนั้นไว้อีกที

ผมจึงรู้สึกว่าพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ทำอย่างไรถึงจะสื่อสารด้วยภาษาที่ง่าย ภาษาที่เข้าถึงชีวิตคนได้มากขึ้นและเข้าถึงคนร่วมสมัยที่ต้องการค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่หรือการที่จะทำประโยชน์และการเข้าใจตัวเองได้มากกว่า ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะมาคิดภาษาแต่เป็นหน้าที่ของผมที่จะทำอย่างไรถึงจะสร้างพื้นที่ให้คนที่สนใจเรื่องการฝึกฝนตัวเองและสามารถมาแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยภาษาของคนรุ่นใหม่ที่พูดกันรู้เรื่อง”

<อ่านทั้งหมด>

ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ ค.คนทูเดย์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๐
เสาวณีย์ เกษมวัฒนา สัมภาษณ์

29.11.07

keep in mind



Keep in mind, always, that the path is the goal. The process, how we engage one another and what we learn from this, are most important and more lasting than any objective result. All our thoughts and ideas, all of our hopes and fears are all ultimately dreams that will evaporate like dew under the morning sun. But, of course, our journey and the lessons it brings will be with us always, even after enlightenment.

Remember too, that meditation is our very life, it is our flesh and bones and the blood that runs through our veins. We will best accomplish our work together according to the wishes of the lineage if we continually return to the open ground, the groundless ground of our practice.

reggie ray

first step

what more do i have to say
what else do i have to do
words seem limited
life seems limitless

i

a dharma warrior of the Great East
planting vajra seeds

in people's heart






26-28 November 2007
meditation workshop with Rakluke Family Group
@panasrom
salaya, nakorn prathom, Thailand

26.11.07

อย่าแหย

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน

ขอแบ่งปันคำพูดสั้นๆของหลวงพี่ไพศาลในการประชุมจิตวิวัฒน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่ทำเอาวิจักขณ์น้ำตาเอ่อ และกลับมามีศรัทธาในอุดมคติของชีวิตของคนเล็กๆที่คิดฝันทำอะไรบ้าๆ ได้อีกครั้ง


สู้กันต่อไปเถิดเพื่อนผอง...

อ่าน "จากกัลยาณมิตร (๓): พลังแห่งศรัทธา"
........................



ในการปฏิบัติธรรม คุณต้องเผชิญหน้ากับความกลัว เข้าไปในป่า เข้าไปเจอสิ่งเสียดแทงในชีวิตอย่างแรง จนคุณสามารถผ่านมันไปได้ พระอรหันต์หลายท่านได้สูญเสียลูก สูญเสียคนรัก เจ็บปวดทางใจมากมาย จนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของเขา

สำหรับถ้าเรามองเรื่องจิตวิวัฒน์ เราต้องมีความเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ อาตมาคิดว่าโอกาสแห่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่คนเราโดนบีบคั้นอย่างรุนแรง คือ พอมันตั้งจิตไว้ได้ถูก ยิ่งเจอความรุนแรงมากเท่าไหร่ เจออุปสรรคในชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์มากเท่าไหร่ มันยิ่งเกิดศรัทธาในมนุษย์มากขึ้น มันยิ่งซาบซึ้งศรัทธาในเมตตาและความรักมากขึ้น และสิ่งนั้นจะเข้าไปชนะใจคนรอบข้างได้

วิวัฒนาการทางจิตไม่ใช่การนั่งในห้องสมาธิ หรือเพียงแต่สัมผัสกับฌาณสมาบัติ แต่เราต้องเข้าไปเผชิญกับการเสียดแทงร้อนแรงในประสบการณ์จริงของชีวิต

อีกอย่างก็คือเราต้องพร้อมที่จะเชื่อในความเป็นไปได้จากสภาวะการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ (thinking impossible) นี่คือศรัทธา ถ้าเราเชื่อในจิตวิวัฒน์ เราต้องมีศรัทธา กล้าที่จะคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร...เพราะคนที่เชื่อเรื่องความรุนแรง และความเกลียดชังมีความเชื่อมั่นในวิธีการของเขามาก จริงๆแล้วมันมีไม่กี่คนในโลก แต่เพราะคนพวกนี้มีความเชื่อความศรัทธาอย่างแรง คือ เอาตัวเองเป็นประจักษ์พยาน

จึงเป็นคำถามที่ว่า พวกที่เชื่อเรื่องสันติวิธีหรือเชื่อเรื่องจิตวิวัฒน์ เราจะอยู่แบบสบายๆ แฮ้ปปี้ๆ วันเด้อฟูล บิ้วตี้ฟุล แค่นั้นเหรอพอมั๊ย....ไม่พอ มันต้องมีความเชื่อมั่นที่แรงพอๆกัน แต่แรงในแบบของสันติวิธี และเชื่อว่าในความเป็นไปไม่ได้นั้นมีโอกาสของความเป็นไปได้สูงมาก เพราะฉะนั้นอาตมาจึงไม่เชื่อในการจะปล่อยโลกให้เป็นไปตามยถากรรม เพราะนั่นมันไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดจิตวิวัฒน์ได้ เราต้องเข้าไปเผชิญด้วยความศรัทธาในการเปลี่ยนแปลงภายในของมนุษย์

อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า ในกลางเตาหลอมเหลว มีจุดที่เยือกเย็นอยู่ ในใจของเราพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในขั้นวิกฤติได้ท่ามกลางการบีบคั้นและกดดันอย่างแรง และเราก็เชื่อว่าความงอกงามในใจนั้นสามารถปลุกความหวังให้กับคนเล็กคนน้อยได้

พระไพศาล วิสาโล

(เรียบเรียงจาก ไฟล์บันทึกเสียงการประชุมจิตวิวัฒน์ วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

25.11.07

หัวใจที่แตกสลาย

วิจักขณ์ พานิช




เมื่อความรักเพรียกหา...
สะกิดหัวใจอันเปราะบางให้สั่นไหว
จงตามเสียงแห่งรักไป
ในดินแดนที่ไม่มีใครเคยรู้จัก

แม้นหนทางจะสูงชัน
เต็มไปด้วยอุปสรรค
แม้นยามที่ปีกแห่งรักรัดรึง
จงไร้ซึ่งแรงต้าน

แม้นยามที่คมดาบใต้ปีกรัก
บาดใจให้เป็นแผล
หรือแม้นยามที่เสียงเพรียกแห่งรัก
หักภาพงามแห่งความฝันให้แตกสลาย
จงศิโรราบให้กับเสียงด้านใน
ด้วยหัวใจแห่งการเรียนรู้ที่จะรัก

ความรักไร้ซึ่งความปรารถนา
นอกเสียจากความปรารถนาที่จะรัก
แต่หากจะรักและไม่อาจเลี่ยงแรงปรารถนา
จงให้สิ่งนี้เป็นความปรารถนา

ปรารถนาที่จะหลอมละลาย
กลายเป็นสายน้ำที่ไหลริน
ขับร้องเป็นท่วงทำนองแห่งรัตติกาล
ปรารถนาที่จะสัมผัสความเจ็บปวด
จากความเปราะบางที่เต็มเปี่ยม
ปรารถนาที่จะรับบาดแผล
จากความเข้าใจในรัก
และปรารถนา...
ที่จะปล่อยให้เลือดรินไหล
ด้วยความเต็มใจและปีติ

( ถักทอและร้อยเรียง จาก The Prophet โดย Kahlil Gibran)

5.11.07

interview with vichak

here we go. a very odd "interview with vichak" on the Manager Daily.



"การเดินทางของคำถามที่ถูกลืม"
บทสัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช บนเส้นทาง “เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ”

คอลัมน์ปริทรรศน์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๐

"ผมไม่มีหน้าที่จะไปให้คำแนะนำกับใครในเรื่องของการใช้ชีวิต แต่โดยส่วนตัวมีเป็นแรงบันดาลใจที่อยากจะสร้างพื้นที่ให้คนร่วมสมัยได้มีโอกาสค้นหาตัวเอง เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจริงๆ ที่ได้พูดคุยถึงประสบการณ์ด้านในของชีวิตโดยที่ไม่ถูกตัดสิน ผมรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่น่าจะมีพื้นที่อย่างนี้มากขึ้น แทนที่จะถูกตัดสินตลอดเวลาว่าเจ๋ง ไม่เจ๋ง ดี ไม่ดี จากสังคมหรือคนรอบข้าง...

...<อ่านต่อทั้งหมด>"

4.11.07

vajra dharma



A cripple runs on the primordial plain.
A mute proclaims the dharma of prajna.
A deaf man listens to the command of mahayana.
At that time, mahamudra arises.
Saraha bursts out laughing.
The only father guru is very pleased.
Chögyam is drunk with the liquor of one taste.
At that time, a ganachakra occurs.
At that time, Marpa Lotsawa laughs.
From the suchness of the fourth abhisheka,
The transcendent world manifests.

No dharma, no source of dharma,
No existence, no manifestation of existence,
The dakini who devours the three worlds,
I pay homage to you who dry up the ocean.

Because I have no father or mother,
I always dwell alone.
Because I have no friends,
I am always surrounded by mirage friends.
These friends are like a treacherous pathway.
These parents are like poisonous food.
I am without friends or parents.
Always joyful, cultivating disciples,
I take delight in cultivating the dharma kingdom.
Getting old, still I grow younger.


Chögyam Trungpa

26 May 1979
Vajradhatu Seminary, Chateau Lake Louise

9.9.07

debut



this is my first book, "เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ" which just came out a few days ago. it's a compilation of the articles i have written in the past 4-5 years. if you're still wondering if i'm sane or not, you might want to buy one for yourself and the other one for your friend. it's published by "สวนเงินมีมา".

6.9.07

heartfelt reflection



i feel after three years of intensive training with my teacher, this is the first time i'm really diving into my own relative truth, my culture, family, friends, and so on, completely and wholeheartedly.

the younger generation, people in my age, seems to more receptive to what i have to say. strangely enough, for so-called "experienced practitioners," who have read my articles/ translations and feel interested to get to know me better, most of the time, i wouldn't get a chance to even talk about my experience at all. they were not interested in the experience, but merely "what do you practice? how is the practice different from what we do here in Thailand? what is Vajrayana?" and often times, i would hear, "every buddhist tradition and every religion have the same goal, to cultivate peace and harmony within." speaking the truth, sometimes, that made me get really really mad.

everyday i get up in the morning, i ask myself, "so, what's next for today?" Then at the end of the day, i just want to sit still in silence. I'm really looking forward to being in some kind of practice space with friends here in Thailand. I just want it to be small and real. in that way, i think i might be able to be myself more fully. I'm thinking about initiating a 3 day meditation workshop in one of Sulak's organizations pretty soon. it would be nice to begin with the Meditating with the Body stuffs to ground people into the earth, their experience, their relative truth, i guess.

amidst all these ups and downs, criticisms and compliments, everyday i feel the need to hold my seat, to trust myself and what i am at this point....this experience has made me see clearly the illusion of what people think about each other. it also helps me to really look inside to see what i really want, who i really am. I think of Reggie and Lee, Rinpoche, and other lineage teachers often. I believe if whatever i do comes from my heart, my teachers will always be here with me and show me the way, the next step of my journey. I also realize the importance of my daily practice much more than what i thought before. without it, i don't think i could survive on the razor edge of the situations i encounter.

i do miss Crestone, Boulder, and people in the sangha a lot. living here in Bangkok is like living in hell. it's not very pleasant for me compared to my life in the US. but at least, i know that this is exactly where i need to be. i'm really really grateful to be here at this point of my journey.... but i do miss my gurus very much.

toward the Great Eastern Sun,
vichak

29.8.07

miracles...

you are a miracle.
we are all miracles...

you know why?

because as humans,
everyday we go about our business
and all that time we know;
we all know that the things we love,
the people we love...
at any time, it can be taken away.
we live knowing that and we keep going anyway.

from movie, "Little Children"

28.8.07

ถึงกัลยาณมิตร



สวัสดีครับทุกคน

ผมกลับมาถึงกรุงเทพฯตั้งแต่บ่ายแก่ๆของวันพฤหัสที่ผ่านมา ตอนนี้ก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยมาได้ห้าวัน เป็นช่วงของการปรับตัวหลายๆอย่าง รู้สึกได้ถึงความเปราะบางในทุกๆด้าน ในสี่ห้าวันที่ผ่านนี้ผมแทบจะไม่ได้โทรไปหาใครเลย จนมีเพื่อนเก่าคนนึงทักว่า "ทำไมกลับมาแล้วถึงได้เงียบจัง" แม้แต่เรื่องงานผมก็ไม่มีความคิดที่อยากจะโทรไปหาใครให้มากความ ไม่ได้ต้องการที่จะโฆษณาตัวเองหรือทำให้การกลับมาครั้งนี้เป็นเรื่องใหญ่โตอะไร

อาจจะมีความรู้สึกคล้ายกับอาหมอวิธานที่ว่า "ในช่วงนี้โดยส่วนตัวผมใช้เวลาอยู่กับตัวเองค่อนข้างมาก และปรับเวลาปรับสมดุลในการทำงานบางอย่างเพราะมีความรู้สึกว่าอยากจะทำงานอะไรบางอย่างค้นคว้าอะไรบางอย่างกับตัวเอง อย่างน้อยก็ในช่วงนี้" ครับ...ผมรู้สึกว่าผมอยากค้นคว้า ทดลองในเรื่องของจิตวิญญาณภายในอะไรบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องการงานชีวิต อย่างที่ไม่ต้องรีบร้อน แน่นอนว่ามันมีความหมิ่นเหม่ผุดขึ้นมาบ้างเหมือนกัน เพราะความคาดหวังทางสังคมต่างก็มุ่งไปที่งานประจำและเงินเดือน เพื่อจะได้สร้างภาพของความมั่นคงให้กับตัวตนของเรา คิดถึงเรื่องงานประจำทีไร ผมก็นึกเสียดายสิ่งที่เราอุตส่าห์ไปร่ำเรียนมา คิดถึงอิสรภาพทางจิตวิญญาณของการมีชีวิตอยู่ในแต่วันของเรา ดูเหมือนจะต้องถูกจำกัดไปกับกรอบและบรรทัดฐานของสถาบันที่โดยส่วนตัวไม่ได้มีความศรัทธาอะไรทั้งสิ้น

ดีใจมากที่ตัดสินใจออกไปเจออาใหญ่ กับพี่ณัฐที่สยามพารากอนเมื่อสองวันก่อน และได้มีโอกาสเจอคุณสมพลกับภรรยาเป็นครั้งแรกด้วย แม้วันนั้นจะค่อนข้างเหนื่อยเพราะคืนก่อนได้นอนไม่กี่ชั่วโมง แต่เหมือนผมได้ไปรับอาหารทางจิตวิญญาณ เป็นกำลังใจที่มีค่าจากกัลยาณมิตรสองคนที่ผมรักและนับถืออย่างสุดหัวใจ พี่ณัฐบอกผมว่า น่าแปลกที่เราสองคนก็ไม่ได้เจอกันบ่อย แต่ทุกครั้งที่เราได้เจอกัน ดูเหมือนเราจะมีความสนิทแนบแน่นกันมากขึ้นอย่างประหลาด ผมเห็นด้วยมาก และรู้สึกเช่นนั้นกับอาใหญ่ด้วย แรกๆผมรู้สึกยำเกรงอาใหญ่ รู้สึกว่าอาใหญ่เป็นคนหนักๆ คิดเยอะ แต่ครั้งนี้รู้สึกได้ถึงหัวใจที่อ่อนโยน ผมประทับใจกับความห่วงใยและปรารถนาดีจากแววตาที่อาใหญ่มีต่อผมตลอดการพูดคุยกัน โดยเฉพาะคำแนะนำที่อาใหญ่บอกผมว่า "หากเป็นไปได้ อย่ารับงานประจำในช่วงปีแรกนี้" ....อยากบอกว่าโดนมาก โดนจริงๆ เพราะตั้งแต่กลับมามีแต่คนบอกให้ไปรับงานที่โน่นที่นี่ แต่ไม่เคยมีใครแนะนำให้อย่าไปรับงานประจำ...

หลายวันที่ผ่านมา ผมได้มี inner dialogue กับตัวเองอยู่ตลอด ได้ให้เวลากับตัวเองได้ผ่อนพัก ได้จัดห้องปฏิบัติที่บ้านและเริ่มการฝึกประจำวัน เสียงกันถะ (ระฆังมือ) และดามารุ (กลองมือ) ฟังดูแปลกหูกับบรรยากาศรอบตัวที่เมืองไทย แต่ทุกครั้งที่ได้ฝึก ผมจะคิดถึงอาจารย์ของผมเสมอ คิดถึงท่านตรุงปะ และธรรมาจารย์ในสายธรรมทั้งหลาย รู้สึกได้ว่าท่านเหล่านั้นอยู่รอบๆคอยประคับประคองเราอย่างใกล้ชิด รู้สึกภูมิใจในความเปราะบางของตัวเองตอนนี้ อย่างที่เรียกว่าเป็น Vajra Pride เป็นความทนงในความไร้ตัวตน ขณะเดียวกันก็พร้อมกับบทเรียนต่างๆที่รออยู่ข้างหน้าและพร้อมที่จะก้าวเดินไปอย่างช้าๆ

27.8.07

i am home?



I've finally arrived Bangkok, Thailand safely after spending almost two weeks in Japan. It has been the first difficult four days so far with a lot of adjustment on my part. As you know, living in Bangkok doesn't seem to be a very pleasant lifestyle, definitely not as much as that in Boulder or Crestone, Colorado. The weather is hot and humid; the traffic is horrible; pollution is everywhere, etc. I have been doing my best to hold my vajra seat in the midst of this important re-entering process. I have already set up my shrine and have begun to do my daily practice. That seems to be the only thing that helps.

The sound of ghanta and damura seem quite strange in Thailand, but at least they have been sounded on this land already.

30.6.07

“หลายสิ่งดูจะชัดเจนขึ้นยามเมื่อคุณจนมุม”



ผมมองว่าเป็นไปได้ทั้งสองทาง บางครั้งคนที่เติบโตมาในประเทศพุทธก็พบกับอุปสรรคที่หนักหนาในรูปแบบที่ต่างออกไป ด้วยประเพณีและวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมายาวนาน คุณก็อาจจะไปรับเอาหลักการ นิยาม หรือความคาดหวังต่างๆนานา เกี่ยวกับศาสนาหรือวิถีปฏิบัติทางจิตวิญญาณมาแบกไว้ แทนที่จะได้ค้นหาคุณค่าและความหมายที่แท้จริงในแบบของคุณเอง

ในเรื่องของภาษาก็มีส่วนมาก ประเทศที่รับเอาพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมได้นำเข้าภาษาบาลีหรือสันสกฤตมาใช้กันในชีวิตประจำวัน จนความหมายที่ลึกซึ้งของมันได้ผิดเพี้ยนไปมาก ภาษาพุทธได้กลายเป็นศัพท์สูงหรือศัพท์เทคนิคที่แสดงถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พุทธธรรม เช่น สถานะทางสังคม การศึกษา หรือพิธีรีตอง เป็นต้น ซึ่งผมมองว่าเปลือกความผิดเพี้ยนเหล่านี้ได้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงหัวใจแห่งพุทธธรรมอย่างน่าเศร้า

ในหลายๆทาง ผมคิดว่าชาวอเมริกันดูจะมีเหตุปัจจัยที่ดีกว่าในข้อนี้ ภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารพุทธธรรมในโลกตะวันตกเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ทุกสิ่งเกิดขึ้นอย่างสดใหม่ ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันจะได้ประโยชน์สูงสุดจากพุทธธรรมที่ปลอดจากหลักการความคาดหวังทางวัฒนธรรม แต่ในอีกทางหนึ่งเมื่อคุณไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีประเพณีเป็นภาชนะรองรับ คุณก็อาจหลงทางได้ง่ายกว่า ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอาจารย์ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้มาก

เชอเกียม ตรุงปะ

จาก ปาจารยสาร ฉบับมิถุนายน-กรกฏาคม ๒๕๕๐
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง

<อ่านฉบับเต็ม>>>

5.6.07

upheavals



Emotional upheavals are indeed good signs of spiritual development which begins to manifest in our personal life. When we are overwhelmed with emotions, we are so awake—we have to be extremely awake in order to be able to engage in such intensity. Our life becomes truly alive. We feel fiery heat in our body, tear in our eyes, terrifying heartbeats, etc. Comparing to life with all those dead ideas, this way of being seems to be a lot more lively and intelligent.

vichak

20.5.07

Tribute from Dzongsar Khyentse



We may be a minority, but there are some of us who have the merit, as well as the guts, confidence and courage to take the path of guru devotion as our utmost essential path. I was taught by my master that the core of this path is remembering the guru.

Contrary to many people's assumption that the guru is some kind of external entity that dictates your life, if I have understood correctly, in the Vajrayana the guru is the path.

Chögyam Trungpa Rinpoche was a pioneer and igniter of Buddhadharma in the West. Without a doubt, that must have been a challenging task. What Rinpoche has achieved would usually take at least three generations—first introducing, then maturing, and finally stirring things up. Rinpoche managed to do all of this in less than twenty years!

Read All


(from "The Chronicles of Chogyam Trungpa Rinpoche")

16.5.07

in the arms of the Glorious Mother



Simplicity, free from conceptual mind,
Dawns as one taste, fresh relaxed.
Seeing nothing but That
Is the ordinary mind.

spontaneously composed by Chogyam Trungpa
at 1979 Seminary

mahamudra poem



you must examine the nature of mind.
it is like a white lily growing alone in the jungle.
it has one drop of water resting on a leaf.
its inherent nature is perfection.
smell its fragrance.
touch its petals.
its roots grow deep in the ground,
but its expression is reaching toward the sun.
it is filled with beauty.
it is filled with desire.
it is filled with sadness.
it is utterly content within all of its longing.

Chogyam Trungpa

10.4.07

blessings



"your life is not a personal thing."

when you understand it fully and truly live every moment according with the dharma, life will always be filled with joy and blessing.

9.4.07

An Indian Prayer



O' Great Spirit
Whose voice I hear in the winds,
And whose breath gives life
To all the world, hear me!
I am small and weak,
I need your strength and wisdom.

Let me walk in beauty,
And make my eyes ever behold
The red and purple sunset.
Make my hands Respect the things you have made,

And my ears sharp to hear your voice.
Make me wise,
So that I may understand
The things you have taught my people.

Let me learn the lessons
You have hidden In every leaf and rock.
I seek strength,
Not to be greater than my brother,
But to fight my greatest enemy- myself.
Make me always ready
To come to you with clean hands
And straight eyes.
So when life fades,
As the fading sunset,
My spirit may come to you
Without shame.

25.3.07

still sitting



time has gone by so fast.
I, sitting still looking at wandering thoughts.
and only a glimpse of non-thought,
I finally found myself.

home, I discover my true home.
work, I engage my true work.
love, I am truly in love.

no time...
no coming, no going—
no attaining, no non-attaining—
still, sitting looking at self-liberating thoughts,

see the moon flies,
glance the cloud shines,
taste the rainbow sky,
feel the gurus’ smiles,
everything turns into the sunlight of the Vajra dawn.

vichak
Crestone, CO
March 22, 2007

winter hibernation



February21 - March22
Cabin @ the Sacred Mountain Retreat Center
Crestone, CO

21.2.07

คุณค่าของตำนาน



“เอลิอาเดถือเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งของวงการวิชาการด้านปรัชญาและศาสนา เขาเปรียบเหมือนผู้เปิดโลกแห่งคุณค่าและความหมาย ให้ชาวตะวันตกได้เห็นว่า ศาสนาหาใช่เป็นเพียงแค่ปรัชญาทางความคิด หรือความเชื่อศรัทธา แต่ศาสนาคือ คุณค่าทางจิตวิญญาณของมนุษยชาติ ที่สามารถสัมผัสได้จากประสบการณ์ตรงในชีวิตประจำวัน เอลิอาเดจะเน้นย้ำกับนักเรียนของเขาเสมอว่า หากการเรียนรู้เรื่องปรัชญาและศาสนาที่เรากำลังทำอยู่นี้ ไม่สามารถส่งผลต่อการสร้างรากฐานทางจิตวิญญาณให้กับสังคมตะวันตกได้แล้ว แสดงว่างานที่เราตรากตรำทำมาทั้งหมดล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง”

จาก "คุณค่าของตำนาน"

9.2.07

no compromise



“I have enough students now. I don’t need any more students. But if there are people here that want to make this journey really from the depth of your heart, then Lee and I want to work with you, but we are not interested in people who are half-hearted. We want people who really understand the view and who are willing to go to the pain of the journey—a lot of pain, but it’s good pain. It’s pain where there is a lot of learning, transformation, opening, sadness, and joy. If you want to do this, yes, we are here for you. But like I said, we will love you and we will kill you, but there’s no compromise. We are not gonna play games. If you come in trying to play games with me, I will take my sword and chop your head off right on the spot.”

Reggie Ray

6.2.07

take roots



“When Buddhism arrives in a new culture, it is essential for the practitioners to make a deep and genuine connection with the unseen beings in the new place, the spiritual presences and potencies residing there and active from time immemorial, in nature and in the ancestral world.”

Reggie Ray
From the February 07 letter to the sangha

5.2.07

เปิดตัวดารา


เสวนาและเปิดตัวหนังสือ “ประสบการณ์ยิ่งใหญ่ ่ในหมู่บ้านเล็กๆ”
แลกเปลี่ยนประสบการณ์สร้างหมู่บ้านกับ...
โมจิฟูมิ โตทานิ โชจิ คิโนะชิตะ จากบ้านอุมะจิ ประเทศญี่ปุ่น
มาซาฮิโกะ โอโตชิ ผู้เขียน
มุทิตา พานิช ผู้แปล



หนังสือ "ประสบการณ์ยิ่งใหญ่ในหมู่บ้านเล็กๆ"
“GOKKUN UMAJIMURA” NO MURA OKOSHI

ขอเชิญร่วมงานเสวนา พร้อมขอลายเซ็นพี่สาวสุดเลิฟของกระผมได้
ณ อาคารไทยแลนด์ บุ๊ค ทาวเวอร์ (TBT) ชั้น ๒ ถนนสาทร ๑๒ ตรงข้ามโรงพยาบาลเซนต์หลุยส์
วันอังคารที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ เวลา ๑๕.๓๐ – ๑๘.๐๐ น.
รายละเอียดเพิ่มเติมที่นี่

30.1.07

hello crestone



after thinking about this for a while, i'm finally moving out of Boulder and plan to spend the rest of my time in the US in Crestone. I will be housesitting for my friend, Terry, for two weeks before moving to my own cabin.



a few days i spent in Crestone over the past week were very nurturing. whenever i look at ritro gonpo, i know this is exactly where i need to be.

...i am home.

ดอกไม้แห่งโพธิ



งานเขียนรับเชิญจากพี่น้อย ชลลดา ทองทวี เกี่ยวกับประสบการณ์การเข้าภาวนากับภิกษุณี เท็นซิน พัลโม ขอขอบคุณพี่น้อยอีกครั้งครับ

"จิตเดิมแท้ของมนุษย์นั้น บริสุทธิ์ เป็นสภาวะโพธิจิตที่มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน รวมทั้งสรรพชีวิตด้วย เปรียบเสมือนท้องฟ้าที่ใสสะอาดไร้ขอบเขต แต่เมฆหมอกแห่งความคิดของเรานั้นหนาทึบมาก ทำให้เรามองไม่เห็นว่ามีท้องฟ้าอยู่ ถ้าเรามองทะลุเมฆหมอกเหล่านี้ได้ เราจะเห็นท้องฟ้าใสอยู่เบื้องหลังได้ไม่ยาก และจะได้รู้ว่าที่จริง เมฆหมอกแห่งความคิด นั้นเป็นแค่เมฆก้อนหนึ่ง ในความจริงแท้ทั้งหมดที่อยู่เบื้องหลัง คือ ท้องฟ้าอันใสกระจ่างนั้น"

<อ่านต่อทั้งหมด>

จิตตปัญญาศึกษา..การเรียนรู้แบบเอาชีวิตเข้าแลก!



โดย ณัฐฬส วังวิญญู
เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา
ContemplativeEducation@yahoo.com
คอลัมน์ ณ พรมแดนแห่งความรู้
โพสต์ทูเดย์ ฉบับวันที่ ๒๘ มกราคม ๒๕๕๐

"ความกล้าเผชิญความจริงแห่งตัวตนจะช่วยทำให้เราเห็นและอาจค้นพบอิสระจากกรอบกรงขังเดิมๆ ได้ทีละเปลาะ เหมือนการปอกหัวหอม เป็นการเดินทางเข้าสู่ด้านในเพื่อขัดเกลาตัวเอง ให้สิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ภายนอกนั้นหลุดออกไปจนเหลือเพียงความเปลือยเปล่าที่จริงแท้ เรียบง่ายและอิสระ

แนวทางการศึกษาเช่นนี้หรือเปล่า ที่สังคมใฝ่สันติภาพและแสวงหาความสุขสมานฉันท์อย่างสังคมไทยพึงปรารถนา ดังที่ได้มีการริเริ่มคิดและจัดกระบวนการเรียนรู้แนวนี้ขึ้นมาบ้างแล้วในหลายๆ ส่วนของสังคม โดยมีการพัฒนาและสร้างสรรค์แนวทางปฏิบัติหรือเครื่องไม้เครื่องมือที่หลากหลาย ผู้ที่สนใจเรียนรู้หรือร่วมคิดร่วมทำก็คงจะได้เข้ามาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันมากขึ้น ซึ่งอาจช่วยต่อเติมมิติของการเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ในเครือข่ายจิตตปัญญาศึกษาของสังคมไทยเติบใหญ่ให้ขยายตัวอย่างมีพลังยิ่งๆ ขึ้นไป"

<อ่านต่อทั้งหมด>

23.1.07

จดหมาย(๑): ดื่มจัด มั่วโลกีย์



"วัชรยานจะเน้นเรื่อง "Lonely Journey" (การเดินทางที่โดดเดี่ยว) คือ เส้นทางสายนี้ ตัวใครตัวมันครับ บางครั้งพฤติกรรมของวัชราจารย์ อาจดูไม่น่าเลื่อมใส (หากตัดสินจากภายนอก) ซึ่งผมว่ามันก็เป็นข้อดีที่ทำให้นักเรียนทุกคนของเขาต้องถามตัวเองให้ดีๆ ว่าจริงๆ แล้วเรามาแสวงหาอะไรกันแน่ คำถามนี้จะนำมาซึ่งแรงดลใจในการค้นหาศักยภาพในตนเอง อย่างที่ไม่ควรไปยึดติดในตัวอาจารย์ หลักการ หรือรูปแบบใดๆ"

<อ่านต่อทั้งหมด>

22.1.07

๔ เดือนหลังรัฐประหาร ๑๙ กันยา

ปาฐกถาโดย สุลักษณ์ ศิวรักษ์
งานสัมมนาวิชาการเรื่อง ' การเมืองไทย ๔ เดือนหลังรัฐประหาร'
จัดโดยสำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน และคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
วันที่ ๑๙ มกราคม ๒๕๕๐



"จิตสิกขาช่วยให้เกิดความเป็นปกติของแต่ละคนและสังคมอย่างไม่อัดเอาเปรียบกัน (ศีล) และการเจริญจิตสิกขาในทางสัมมาสติ ย่อมช่วยลดความเห็นแก่ตัวลง จนเกิดจิตสำนึกในการรับใช้ผู้อื่น สัตว์อื่น ยิ่งกว่าการทะเยอทะยานเพื่อไต่เต้าไปเอาดีทางทรัพย์สิน ยศศักดิ์ อัครฐาน ยิ่งเห็นแก่ตัวน้อย โดยรู้จักโยงหัวใจกับสมองให้สัมพันธ์กัน ย่อมสามารถแลเห็นสภาวะสัตย์ตามความเป็นจริง (ปัญญา) อย่างเป็นองค์รวม อย่างไม่เป็นเสี่ยงๆ และอย่างโยงใยถึงกันและกันในทางอิทัปปัจจยตา จนอาจแลเห็นความอยุติธรรมทางโครงสร้างของสังคม และระบบจักรวรรดินิยมและทุนนิยมในโลกอีกด้วย"

<อ่านทั้งหมด>

20.1.07

basic uncertainty



in the sitting practice of meditation, there is basic space, basic openness. somehow, strangely, there is also basic uncertainty. if your discipline is completely certain and you know what you are doing, then there is no journey.

chogyam trungpa

16.1.07

เผาปิฏกไตรเป็นเชื้อไฟแห่งปัญญา (๒)



"สิ่งสำคัญในกระบวนการเรียนรู้ด้านใน ก็คือ ความรู้จะต้องไม่ถูกยื่นต่อให้กันเหมือนวัตถุ ผู้สอนต้องเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในหัวใจแห่งคำสอน และสามารถส่งผ่านแรงดลใจนั้นไปยังศิษย์ แรงบันดาลใจนี้เองที่จะนำให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการฝึกฝนตนเอง บ่มเพาะพลังทางปัญญาที่จะปลุกให้เขาตื่นจากความหลับใหล จากนั้นนักเรียนจึงส่งผ่านกระบวนการนั้นไปยังนักเรียนของเขาต่อไป สายการปฏิบัติจึงถือกำเนิดขึ้น ทำให้ความรู้นั้นเป็นความรู้ที่มีชีวิต และทันกับยุคสมัยและเหตุปัจจัยที่เปลี่ยนไปอยู่เสมอ ความรู้จะต้องไม่ถูกสงวนรักษาราวกับโบราณวัตถุคร่ำครึ ไม่ใช่นิทานหรือเทพนิยายหลอกเด็กที่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง ความรู้ที่แท้จะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งกระบวนการ เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สดใหม่ ผุดบังเกิดออกจากประสบการณ์ด้านในบนพื้นฐานแห่งการตื่นรู้ในทุกปัจจุบันขณะ และนั่นคือสารัตถะของการดำรงอยู่ที่แท้ในแต่ละย่างก้าวของการเดินทางแห่งชีวิต"

จาก "เผาปิฏกไตรเป็นเชื้อไฟแห่งปัญญา (๒)"

15.1.07

voyage




a ship is safe in harbor - but that's not what ships are for.

John A. Shedd

14.1.07

ธารธรรมสามสาย (The Three Lineages)


บ่มเพาะพลังแห่งการตื่นรู้สู่การปฏิรูปสถาบันทางศาสนา
เรจินัลด์ เรย์ เขียน
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง



"ในโครงสร้างสถาบันของพุทธศาสนา องค์กรมีเป้าหมายแรกเริ่มในการสนับสนุนการฝึกฝนของปัจเจกอย่างเต็มที่ โดยหากรากฐานในสายการสืบทอด และสายธารเดิมแท้มีความมั่นคง สายธารอำนาจก็จะทำหน้าที่สำคัญในลักษณะของภาชนะที่ปลอดภัยให้กับธารธรรมทั้งสองได้งอกงามอย่างเต็มศักยภาพ โครงสร้าง การจัดการและการบริหารบนรากฐานทางปัญญา จะช่วยสนับสนุนให้สายการปฏิบัติเติบโต เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ให้กับผู้ฝึกฝนรุ่นเยาว์ และก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องไปกับแก่นพุทธธรรมอันเป็นพลวัตแห่งการตื่นรู้ที่ไม่หยุดนิ่ง แต่ก็แน่นอนว่า พุทธศาสนาก็เหมือนศาสนาอื่นๆ ที่บ่อยครั้งเรามักจะพบว่าอำนาจของสถาบันได้ไปขวางกั้นระหว่างผู้ฝึกฝนกับประสบการณ์ในพุทธสภาวะ ในกรณีนั้นสถาบันหรือสายธารอำนาจก็ไม่ได้ทำหน้าที่ตามที่ควรจะเป็นอีกต่อไป เพราะมันได้ตกไปสู่ความยึดติดในอำนาจ"

<อ่านต่อทั้งหมด>

13.1.07

พิธีกรรม เติมความศักดิ์สิทธิ์และความหมายให้กับชีวิตยุคใหม่


งานชิ้นนี้ของพี่ณัฐ ราวกับภาคขยายความของบทความ "พิธีกรรมธรรมดา" ที่เขียนลงโพสท์ทูเดย์เมื่อเดือนสองเดือนก่อน พี่ณัฐเขียนได้เจ๋งมากเลย ขอบคุณครับพี่

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์
โดย ณัฐฬส วังวิญญู สถาบันขวัญเมือง
มติชนรายวัน เสาร์ที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๕๐

กิจวัตรประจำวันในฐานะพิธีกรรม พฤติกรรมบางอย่างที่ทำซ้ำๆ แล้วทำให้ชีวิตรู้สึกดี มีแบบแผนหรือทำให้รู้สึกปลอดภัย เช่น การดื่มกาแฟหรือชา อ่านหนังสือพิมพ์ก่อนออกไปทำงาน (มนุษย์ทุกวันนี้มีเวลาอย่างที่ว่าน้อยมาก) การหอมแก้มลูกก่อนนอน การสวัสดีคุณยายก่อนก้าวเท้าเดินออกไปโรงเรียน การเดินออกกำลังกายตอนเช้า การรับประทานอาหารเย็นร่วมกันในครอบครัว การออกไปดูหนังทุกวันเสาร์ การดูข่าวตอนเช้าก่อนอาบน้ำ เป็นต้น กิจวัตรเหล่านี้ แม้จะดูง่ายๆ ไม่ได้มีความหมายในเชิงศาสนาหรือความศักดิ์สิทธิ์ แต่ก็ช่วยให้ชีวิตมีแบบแผนบางอย่างรองรับ ทำให้รู้สึกว่ามีความเป็นปกติอยู่ ซึ่งสำหรับแต่ละคนก็จะแตกต่างกันออกไป

ดังนั้น จะเห็นว่ามนุษย์สามารถสร้างกิจกรรมที่มีลักษณะเป็นพิธีกรรมขึ้นมาเองได้ตลอดเวลา
<อ่านต่อทั้งหมด>

don't you feel anything?



"I've often wished that I could have been in the room when Descartes came up with his famous quip, "I think, therefore I am." I would have put my arm around his shoulder and gently tapped, or I would have punched him in the nose, or I might have taken his hands in mine, kissed him full on the lips, and said, "René, my friend, don't you feel anything?"

Derrick Jensen
"A Language Older than Words"

12.1.07

โอเค โอเค

เนื่องด้วยโดนคุณจักรนักประดิษฐ์แท็คมา

๑)เพื่อนคนนึงเคยเอาวันเดือนปีเกิดไปให้หมอดูดูดวงให้ หมอดูทักกลับว่า "คนนี้เขาเป็นพระหรือเปล่า?" เพื่อนคงคิดในใจว่า "พระยันตระ น่ะเด่ะ..ไม่แม่นตั้งแต่ประโยคแรกซะแล้ว ไอ้หมอนี่"

๒)ไม่ได้เป็นกระเทย แต่ไปไหนมาไหนก็มักจะถูกกระเทยหมายปอง ที่รุนแรงที่สุด คงเป็นสมัยอยู่เตรียมฯ ที่มาเป็นแก๊ง ทั้งมิเชล เฮเลน ฯลฯ เหล่าเธอๆตามมาส่งจดหมายรักถึงห้องเรียน ตอนเดินผ่านตึกศิลป์ก็แทบอยากจะเอาปี๊บคลุมหัวไว้

๓)อยากได้ฉายามาตั้งแต่เด็ก เพราะชื่อเล่นเป็นชื่อโหล แต่ก็ไม่เคยมีใครตั้งได้สำเร็จ เพราะคนชอบเรียกชื่อจริงเป็นฉายา (งงมั๊ย) พี่สาวสามคนชื่อขึ้นต้นด้วย "มุ" ทุกคน จนมีคนแซวว่า น้องชายคนสุดท้องน่าจะชื่อ "มุสาวาทา เวรมณี"

๔)แรงบันดาลใจแรกของการทำงานเขียน เกิดขึ้นตอนอายุ ๑๘ เพิ่งกลับมาจากการไปนั่งสมาธิครั้งแรกแล้วได้มีโอกาสอ่านข่าวในมติชนสุดสัปดาห์เรื่องกรณีธรรมกาย จู่ๆคิดไงไม่รู้เลยนั่งเขียนจดหมายถึงบ.ก. อาทิตย์ถัดมา ปรากฎว่าจดหมายทั้งฉบับถูกเอาไปลงในหน้าขอแสดงความนับถือ ด้วยคำชื่นชมต่างๆนานาจากบ.ก.เสถียร จันทิมาทร ทำเอาเราทั้งตกใจ อาย และภูมิใจไปพร้อมๆกัน

๕)หากเลือกเรียนใหม่ได้ จะเรียนประวัติศาสตร์ หรือไม่ก็จิตวิทยา

อืม..
ว่าแต่จะคนที่ถูกแท็คต่อไปจะได้เข้ามาอ่านมั๊ยเนี่ย
ขอแท็ค ดำ น้องผึ้ง คุณสัตว์สันโดษ คุณมุ(มุทิตา)แล้วก็พี่ฝน ก็แล้วกันนะเออ

หมายเหตุ: blog tag การแท็คคืออะไร..?
คนที่โดนแท็ค จะต้องเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง 5 ข้อ
ที่เป็นเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยซึ่งคนทั่วไปอาจจะไม่รู้
และแท็คต่อไปอีก 5 คน แล้วนำไปขึ้น blog

10.1.07

spontaneity

the family downstair had been really loud all morning, so i decided to walk to Shambhala Center to practice in their shrine room for a while. I went up and realized that there's a dead body in the shrine room waiting for the Sukhavati ceremony. hmm...since i was already there, i decided to practice in there for a couple of hours. it was a very interesting experience--almost like practicing in a charnel ground. Then i came home with this sense of rawness and sadness. I was trying to find an escape---calling a friend, watching a movie, and so on...then aroud 9 pm, Tristan suddenly appeared at my door. He invited me to join him for a walk--actually, quite a rigorous journey up to the top of the snow-covered mountain without flashlights or snowshoes. We reached the top, sat there looking at the stars and the lights of Boulder, and then talked about struggles of life. it was a really spontaneous and wonderful experience for a lonely night like this. Tristan gave me something very thoughtful to chew on and I'm really grateful for his visit tonight.

sister palmo



Sister Tenzin Palmo is going to be a keynote speaker for SEM annual lecture on the topic, "The role of female sramanas on global healings." The lecture will be held at School of Education, Chulalongkorn University on January, 9 2007. She's also going to lead another workshop at the Wongsanit Ashram between Jan11-14.

Sister Palmo played a very important role in Trungpa Rinpoche's life as well as the XVI Karmapa's. She found Trungpa Rinpoche the Spalding scholarship for his study in the UK and was the Karmapa's personal translator. She's a very disciplined and devoted practitioner who has spent most of her life in strict retreats.

Her entire schedule in Thailand
(from www.sulak-sivaraksa.org)

5 January Seminar “Female Dhamma Masters: Opportunity, Obstacle and Future” 9:00 - 15:00 hrs. Political Science Alumni Association Auditorium, Faculty of Political Science, Chulalongkorn University
6-7 January Visit to Ven. Dhammananda at Songdham Kalyani Temple, Nakorn Pathom province
8 January Visit to Suan Mokkh in Surath Thani province
9 January The 13th Sem Pringpuangkaew Lecture “Woman Dhamma Masters and Healing of the World” 18.00 - 20.00 hrs. Auditorium Hall, Faculty of Education, Chulalongkorn University
10 January Talk to Social Venture Network Thailand
11-14 January Meditation Retreat, Wongsanit Ashram, Nakorn Nayok province
15-18 January Meditation Retreat in Chiangmai

9.1.07

๛ โหยหาดั่งทารก




จงฝึกยืนบนลำแข้งของตนเอง
เป็นปัจเจกบุคคลที่รู้จักคุณค่าของชีวิต
เลิกคิดเอาแต่จะเมามายไปกับใครต่อใคร
หยุดหลงใหลไปกับโลกียวิสัย
อย่างไม่ลืมหูลืมตา

จนหลงลืมไปว่า...
ไม่มีใครที่จะเอาแต่เกาะก่าย
เป็นทารกไปได้โดยตลอด ๛

<อ่านทั้งหมด>

7.1.07

only if



we are born to be happy
...or we are born to suffer.
we are born to conquer
...or we are born to be defeated.

i don't know.

one thing i do know...
if we only add "with others" behind each sentence,
it would make a lot more sense.

"All the joy the world contains
Has come through wishing happiness for others.
All the misery the world contains
Has come through wanting pleasure for oneself."


~Shantideva