30.6.07

“หลายสิ่งดูจะชัดเจนขึ้นยามเมื่อคุณจนมุม”



ผมมองว่าเป็นไปได้ทั้งสองทาง บางครั้งคนที่เติบโตมาในประเทศพุทธก็พบกับอุปสรรคที่หนักหนาในรูปแบบที่ต่างออกไป ด้วยประเพณีและวัฒนธรรมที่ส่งต่อกันมายาวนาน คุณก็อาจจะไปรับเอาหลักการ นิยาม หรือความคาดหวังต่างๆนานา เกี่ยวกับศาสนาหรือวิถีปฏิบัติทางจิตวิญญาณมาแบกไว้ แทนที่จะได้ค้นหาคุณค่าและความหมายที่แท้จริงในแบบของคุณเอง

ในเรื่องของภาษาก็มีส่วนมาก ประเทศที่รับเอาพุทธศาสนาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมได้นำเข้าภาษาบาลีหรือสันสกฤตมาใช้กันในชีวิตประจำวัน จนความหมายที่ลึกซึ้งของมันได้ผิดเพี้ยนไปมาก ภาษาพุทธได้กลายเป็นศัพท์สูงหรือศัพท์เทคนิคที่แสดงถึงสิ่งอื่นที่ไม่ใช่พุทธธรรม เช่น สถานะทางสังคม การศึกษา หรือพิธีรีตอง เป็นต้น ซึ่งผมมองว่าเปลือกความผิดเพี้ยนเหล่านี้ได้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงหัวใจแห่งพุทธธรรมอย่างน่าเศร้า

ในหลายๆทาง ผมคิดว่าชาวอเมริกันดูจะมีเหตุปัจจัยที่ดีกว่าในข้อนี้ ภาษาที่เราใช้ในการสื่อสารพุทธธรรมในโลกตะวันตกเป็นภาษาที่ใช้สื่อสารกันในชีวิตประจำวันอย่างแท้จริง ทุกสิ่งเกิดขึ้นอย่างสดใหม่ ซึ่งผมมองว่าเป็นสิ่งที่ชาวอเมริกันจะได้ประโยชน์สูงสุดจากพุทธธรรมที่ปลอดจากหลักการความคาดหวังทางวัฒนธรรม แต่ในอีกทางหนึ่งเมื่อคุณไม่มีวัฒนธรรม ไม่มีประเพณีเป็นภาชนะรองรับ คุณก็อาจหลงทางได้ง่ายกว่า ดังนั้นคุณจำเป็นจะต้องรู้ว่าตัวเองทำอะไรอยู่ และความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับอาจารย์ก็จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้มาก

เชอเกียม ตรุงปะ

จาก ปาจารยสาร ฉบับมิถุนายน-กรกฏาคม ๒๕๕๐
วิจักขณ์ พานิช แปลและเรียบเรียง

<อ่านฉบับเต็ม>>>