16.12.06

nature of argument



สิ่งหนึ่งที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงในการทำงานเขียนก็คือ การเผชิญกับเสียงตอบรับ
โดยเฉพาะงานเขียนทางจิตวิญญาณด้วยแล้ว
ย่อมต้องฝึกการฟังเสียงตอบรับในเชิงลบอยู่ไม่น้อยเลยทีเดียว
เสียงตอบรับในเชิงลบนั้น เป็นสิ่งที่น่าสนใจ
เพราะทำให้ผู้เขียนได้เห็นแง่มุมที่หลากหลายมากขึ้น
ได้เรียนรู้ข้อจำกัดของการสื่อสาร
แล้วสร้างสรรค์วิธีการที่สามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น
คำเยินยอแม้จะฟังแล้วรื่นหูแต่ก็มักจะทำให้ใจลอยไป ไม่ค่อยได้อยู่ติดพื้น...

แต่กระนั้นงานเขียนงานแปลที่มีเป้าหมายเพื่อกระตุ้นให้ผู้คน
ได้หันมาฝึกฝนปฏิบัติกับตัวเอง
ได้หันมาสนใจ และจริงจังกับข้อจำกัดทางอัตตาที่คับแคบ
โดยเฉพาะหลักการทางความคิดทั้งหลาย
แม้แต่ปรัชญาทางพุทธ หรือความรู้ในพระคัมภีร์ทั้งหลายก็ดี
มักจะได้รับเสียงตอบรับในลักษณะ "ชวนเถียง"อยู่บ่อยๆ
แม้จะไม่สามารถบังคับให้ไม่เกิดได้
แต่พอได้รับบ่อยๆ ก็อดไม่ได้ที่จะรู้สึกท้อใจเป็นระยะๆ

ชวนให้คิดถึงท่านนาคารชุน
แม้งานของท่านมักจะถูกมองเป็นหลักปรัชญาการโต้วาทะ
ที่สำคัญที่สุดของพุทธ แต่จริงๆแล้วงานของท่านล้วนมีขึ้น
เพื่อเป้าหมายการทำลายทฤษฎีข้อโต้แย้งทั้งหมด
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติเข้าสู่สภาวะของความไม่ยึดมั่นในหลักการ
สู่การรับฟังเสียงแห่งประสบการณ์ด้านในอย่างไม่ตัดสิน

การโต้แย้งที่ดีไม่ได้เป็นไปด้วยความอหังการว่าข้าแน่
หรือเพื่อการปลุกเร้าให้เกิดการโต้แย้งอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

แต่การโต้แย้งที่ดีควรเป็นไปเพื่อเป้าหมายแห่งการปัดเป่า
เมฆหมอกของความยึดมั่นทางหลักการที่เวียนว่าย
ช่วยเปิดใจให้เราเข้าสู่สายธารแห่งการตระหนักรู้
สู่เส้นทางของการปฏิบัติด้านใน
นั่นคือการโต้แย้งแบบนาคารชุน

ก็คงได้แต่บอกตัวเองว่า เราก็ได้แต่ทำหน้าที่ของเราไปเรื่อยๆ
ฝึกฝนตนเองด้วยความอ่อนน้อม
เปิดใจที่จะเรียนรู้เสียงตอบรับในทุกๆด้าน
หากสิ่งที่ทำเป็นไปตามครรลองของธรรมะ สิ่งนั้นย่อมไม่ตาย
แม้คุณค่าของมันอาจจะฉายออกมาให้ผู้คนได้เห็นค่าไม่ได้ในทันทีก็ตาม

"neither from itself nor from another,
nor from both,
nor without a cause,
does anything whatever, anywhere arise."

"although (the term) "self" is caused to be known (of, about), and although (a doctrine or teaching of) "no self" is taught, no "self" or any "nonself" whatsoever has been taught by the Buddhas. the designable is ceased when/where the range of thought is ceased,

nirvana is like phenomenality, unarisen and unstopping. everything is actual, or not actual, or actual and not actual or neither actual nor not actual; this is the Buddha's teaching.

independent, peaceful, not delusionally diversified by delusional diversification devoid of mental construction, without variation, this is the mark of thatness.

whatsoever becomes dependently, is not insofar, that and only that. nor is it the other; therefore, it is neither exterminated nor eternal.

not singular, not plural, not exterminated, not eternal, this is the immortal teaching of the Buddhas, lords of the world. and again, when the disciples are destroyed and full Buddhas do not arrive, the gnosis (knowledge, etc.) of the independently enlightened Buddhas proceeds without association (with teachings)."

from Nāgārjuna's Mūlamadhyamakakārikā