21.2.09

"ละคร" ประตูสู่การภาวนา



โดย ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย
คอลัมน์จิตวิวัฒน์
หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับประจำวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๒

ในการฝึกทักษะการละคร (ในที่นี้หมายถึงทักษะการละครสมัยใหม่โดยทั่วๆ ไป) ไม่ว่าจะเป็นแนวทางใด สิ่งที่ผู้ฝึกสอนมักจะให้ความสนใจเป็นอันดับแรก ก็คือการให้ความสำคัญกับ 'ร่างกาย' นักแสดงจะถูกบอกกล่าวให้เห็นถึงความจำเป็นที่ตนจะต้องค้นหาและทำความเข้าใจกับร่างกายของตนเอง ในฐานะเครื่องมือสื่อสารความคิดและความรู้สึก แบบฝึกหัดหลายหลากจะถูกนำมาใช้เพื่อฝึกฝนทักษะในการ 'ทำความรู้จักกับร่างกายตัวเอง' ไม่ว่าจะเป็นการฝึกเรื่องผัสสะและการรับรู้ให้เฉียบคม คล่องแคล่วว่องไว เช่น ให้รู้สึกในสิ่งที่กำลังสัมผัส ฟังในสิ่งที่ได้ยิน เห็นในสิ่งที่มองดูอยู่ ที่เรียกว่า Sensory Exercises ฯลฯ ฝึกความจำได้หมายรู้ (สัญญา) อารมณ์ความรู้สึก (เวทนา) และจินตนาการ จากนั้นจึงให้นำทุกสิ่งทุกอย่างมาเชื่อมโยงเข้าหากันอย่างประณีตเนียน ถ้ามองเพียงเท่านี้ จะเห็นว่าการฝึกละครย่อมเป็นหนทางที่จะทำให้ผู้ฝึกเดินเข้าสู่ประตู่ของภาวนาได้ดียิ่งทางหนึ่งไม่แพ้ทางใด หากนักปฏิบัติธรรม หรือผู้ใฝ่ในการวิวัฒนาจิตวิญญาณยังตั้งแง่รังเกียจละครว่าเป็นเรื่องทางโลก และโยนทิ้งไปเสียเฉยๆ ก็นับว่าน่าเสียดาย


จากประสบการณ์ตรงของการเป็นนักการละคร และกระบวนกรสอนภาวนา ผมพบว่าเมื่อได้สอนผู้เข้าร่วมอบรมในเรื่องการภาวนา ผู้ที่ไม่เคยฝึกละครมาก่อนจะยังไม่เข้าใจเรื่องการผ่อนคลายร่างกาย (relaxation) ด้วยเพราะไม่เคยถูกฝึกให้สังเกตการทำงานของกล้ามเนื้อในร่างกายอย่างละเอียดประณีต พอฝึกให้รู้สึกตัว หลายคนพบว่าผัสสะของตนเฉื่อยชาไม่ตื่นตัว ความรู้สึกตัวจึงไม่ชัดเจน หลงง่าย มัวง่าย หรือบางคนก็เพ่งจ้องเกินไปโดยไม่รู้ตัว เหตุเพราะไม่รู้จักวิธีผ่อนคลายร่างกาย ส่วนบางคนเมื่อเริ่มทำอานาปานสติ กลับรู้สึกว่าเห็นท้องพองยุบไม่ชัด แต่หากฝึกการละครมาก่อนเรื่องการหายใจจะไม่เป็นปัญหาเลย เพราะนักแสดงที่เอาจริงเอาจังทุกคนจะถูกฝึก ถูกเน้นในเรื่องการหายใจอย่างเคี่ยวข้น...

<อ่านต่อทั้งหมด>>>