ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ
Cutting Through Spiritual Materialism
เชอเกียม ตรุงปะ บรรยาย
วิจักขณ์ พานิช แปล
คำนิยม โดย เขมานันทะ
คำนำ โดย เรจินัลด์ เรย์
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔
จำนวน ๒๘๘ หน้า
ราคา ๒๐๐ บาท
หนังสือธรรมะเรต “ห” ที่ขัดต่อศีลธรรมและความสงบสุขของอัตตาอย่างแท้จริง ท้าทายความเชื่อเรื่อง “ศาสนา” ที่เคยมีมา และเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า “ธรรมะ” ไปโดยสิ้นเชิง ฉีกขนบงานแปลทางศาสนา ด้วยสำนวนภาษาที่เป็นกันเอง ติดดิน ตรงไปตรงมา และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่านี่เป็นหนังสือธรรมะประเภทโฆษณาชวนเชื่อ ฮาวทู หรือเสริมสร้างสุข เลิกหวังไปเลยว่าจะเป็นหนังสืออ่านง่าย แฝงคติเตือนใจ หรือให้ข้อคิดคำคม หากจะจัดเรตติ้งให้หนังสือเล่มนี้ นี่คือหนังสือธรรมะเรต “ห” ที่ขัดต่อศีลธรรมและความสงบสุขของอัตตาอย่างแท้จริง เป็นธรรมะที่จะเปิดโปงทุกแง่มุมของการหลอกตัวเอง เปิดเผยกลไกการทำงานของอัตตา สติปัญญา และความเจ้าเล่ห์ของมันอย่างถึงรากและทะลุทะลวง จนอาจถึงขั้นเป็นภัยคุกคามต่อโลกอันสงบสุขและศีลธรรมของคนดีมีธรรมะทั้งหลายเลยทีเดียว
ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้อาจรู้สึกราวกับโดนไม้ท่อนใหญ่ฟาดหัวเข้าอย่างจัง เพราะเนื้อหานำเสนอประเด็นท้าทายความเชื่อเรื่อง “ศาสนา” และเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า “ธรรมะ” ไปโดยสิ้นเชิง เช่น การปฏิบัติธรรมไม่ใช่หนทางสู่การพ้นทุกข์หรือสร้างสุข แต่คือการยอมรับและเผชิญทุกข์สุขตามที่เป็น ธรรมะไม่ใช่การตัดสินดีชั่ว ถูกผิด การกำจัดด้านมืดให้สิ้นซาก หรือการแบ่งแยกฝ่ายธรรมะจากฝ่ายอธรรม ไม่ใช่การพิพากษาว่าอัตตาเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ต้องกำจัด แต่ต้องรู้ทันและเข้าใจมันอย่างทะลุปรุโปร่ง จนอัตตาไม่อาจมีอำนาจเหนือความรู้แจ้งของเราได้ เส้นทางจิตวิญญาณไม่ใช่เรื่องของการพยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนดีมีศีลธรรม หรือหลีกหนีจากชีวิตแบบโลกย์ๆ แต่คือการเป็นตัวของตัวเอง ยอมรับตัวเองอย่างที่เป็น ภาคภูมิใจในความเป็นคน และตระหนักว่าศักยภาพแห่งการรู้แจ้งไม่ใช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้นใหม่ ทว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราทุกคนอยู่แล้ว
ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ นำเสนอเนื้อหาที่กระตุ้นเตือนชาวพุทธให้หันกลับมาตระหนักในเรื่อง “วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ” อันหมายถึงการใช้หลักธรรมคำสอน เทคนิคปฏิบัติ และภาพลักษณ์สูงส่งทางจิตวิญญาณ เพียงเพื่อการหลอกตัวเอง การเสริมสร้างอัตตา หรืออัตลักษณ์ทางศาสนา ศีลธรรม ความดี บุญบารมี ปัญญาญาณ ขั้นการบรรลุธรรม ฯลฯ อย่างปราศจากการนำพุทธธรรมมาฝึกฝนปฏิบัติจริงในชีวิต
หนังสือเล่มนี้เป็นบทบรรยายธรรมชิ้นสำคัญที่สุดของ เชอเกียม ตรุงปะ ที่ถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งพุทธธรรมในหัวใจคนหนุ่มรุ่นใหม่จากธิเบต สู่ผู้คนในโลกตะวันตกอย่างไม่ประนีประนอม พุทธศาสนาในโลกตะวันตกไม่ได้มีสถานะหรือต้นทุนทางสังคมใดๆ ให้ผู้ศรัทธาหยิบฉวยมาสร้างอัตลักษณ์ทางศาสนา อีกทั้งคนส่วนใหญ่ยังรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และความรู้สึกผิดบาปจากศาสนาที่พวกเขาเคยยึดถือมาหลายชั่วคนอีกด้วย ดังนั้นก่อนเข้าสู่เส้นทางพุทธศาสนา ผู้คนเหล่านี้จึงต้องการแผนที่ที่สามารถบอกถึงหัวใจและรายละเอียดของเส้นทางทั้งหมดด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมา และหนังสือเล่มนี้ได้แสดงแผนที่นั้นไว้อย่างครบถ้วน
แม้ Cutting Through Spiritual Materialism จะเป็นหนังสือสำคัญทางพุทธศาสนาสายวัชรยานในโลกตะวันตก และเป็นคำสอนแรกที่ เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดในทวีปอเมริกาเหนือ ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐ และ ๑๙๗๑ แต่กล่าวได้ว่านี่เป็นหนังสือที่ “ไร้กาลเวลา” เพราะแม้จะผ่านมาถึง ๔๐ ปีแล้ว ทว่าแก่นพุทธศาสนาวัชรยานที่ได้รับการถ่ายทอดอยู่ในหนังสือเล่มนี้ยังคงสื่อสารได้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัยและทุกวัฒนธรรม รวมทั้งสังคมไทยยุคปัจจุบันที่กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก
บริบทของหนังสือเล่มนี้มีความคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ทางจิตวิญญาณที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ นั่นคือคำสอนทางศาสนามักถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสิ่งที่เข้ามาก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (ซึ่งมักถูกมองในฐานะสิ่งคุกคาม) เราจะรู้เท่าทันอำนาจการบิดเบือนคำสอนทางศาสนาของอัตตาได้อย่างไร? คำสอนทางจิตวิญญาณควรถูกนำมาใช้ในการตั้งคำถามกับความเป็นไปของสังคมและตัวเราเองอย่างไร? การแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ควรเป็นไปในทิศทางใดจึงจะสอดคล้องกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต? เหล่านี้เป็นคำถามที่มีอยู่ในหัวใจของผู้แสวงหาสัจจะทุกยุคทุกสมัย
ในแง่สำนวนการแปล วิจักขณ์ พานิช ฉีกขนบงานแปลทางศาสนา ด้วยการใช้สำนวนภาษาที่เป็นกันเอง ติดดิน ตรงไปตรงมา และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เขาใช้ประสบการณ์จากการฝึกฝนอยู่ในสายปฏิบัติของ เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดหัวใจสำคัญของการสื่อสารธรรมะที่ไปพ้นถ้อยคำ มีสไตล์การใช้ภาษาที่เต็มไปด้วยลูกเล่น สำนวน อุปมาอุปไมย คำประดิษฐ์ สแลง มุขตลก ยึดหลักการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่า คือการใช้ภาษาพูด บทสนทนาโต้ตอบที่ไม่เป็นทางการ และมีความเป็นเสรีนิยมตามบริบทการสื่อสารธรรมะสู่คนหนุ่มสาวอเมริกันยุค ๗๐ ด้วยเหตุที่ว่า นั่นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้งานชิ้นนี้มีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้เหมาะสมกับบริบทที่พุทธศาสนาไทยในโลกสมัยใหม่กำลังเผชิญอยู่
นานาทัศนะต่อ "ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ"
http://www.facebook.com/note.php?saved&preview¬e_id=10150168987571173&id=102073626174
เนื้อหาบางส่วนจาก "ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ"
http://www.facebook.com/note.php?saved&preview¬e_id=10150168994936173&id=102073626174
Cutting Through Spiritual Materialism
เชอเกียม ตรุงปะ บรรยาย
วิจักขณ์ พานิช แปล
คำนิยม โดย เขมานันทะ
คำนำ โดย เรจินัลด์ เรย์
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
พิมพ์ครั้งที่ ๑ มีนาคม ๒๕๕๔
จำนวน ๒๘๘ หน้า
ราคา ๒๐๐ บาท
หนังสือธรรมะเรต “ห” ที่ขัดต่อศีลธรรมและความสงบสุขของอัตตาอย่างแท้จริง ท้าทายความเชื่อเรื่อง “ศาสนา” ที่เคยมีมา และเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า “ธรรมะ” ไปโดยสิ้นเชิง ฉีกขนบงานแปลทางศาสนา ด้วยสำนวนภาษาที่เป็นกันเอง ติดดิน ตรงไปตรงมา และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา
อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่านี่เป็นหนังสือธรรมะประเภทโฆษณาชวนเชื่อ ฮาวทู หรือเสริมสร้างสุข เลิกหวังไปเลยว่าจะเป็นหนังสืออ่านง่าย แฝงคติเตือนใจ หรือให้ข้อคิดคำคม หากจะจัดเรตติ้งให้หนังสือเล่มนี้ นี่คือหนังสือธรรมะเรต “ห” ที่ขัดต่อศีลธรรมและความสงบสุขของอัตตาอย่างแท้จริง เป็นธรรมะที่จะเปิดโปงทุกแง่มุมของการหลอกตัวเอง เปิดเผยกลไกการทำงานของอัตตา สติปัญญา และความเจ้าเล่ห์ของมันอย่างถึงรากและทะลุทะลวง จนอาจถึงขั้นเป็นภัยคุกคามต่อโลกอันสงบสุขและศีลธรรมของคนดีมีธรรมะทั้งหลายเลยทีเดียว
ผู้อ่านหนังสือเล่มนี้อาจรู้สึกราวกับโดนไม้ท่อนใหญ่ฟาดหัวเข้าอย่างจัง เพราะเนื้อหานำเสนอประเด็นท้าทายความเชื่อเรื่อง “ศาสนา” และเปลี่ยนมุมมองต่อคำว่า “ธรรมะ” ไปโดยสิ้นเชิง เช่น การปฏิบัติธรรมไม่ใช่หนทางสู่การพ้นทุกข์หรือสร้างสุข แต่คือการยอมรับและเผชิญทุกข์สุขตามที่เป็น ธรรมะไม่ใช่การตัดสินดีชั่ว ถูกผิด การกำจัดด้านมืดให้สิ้นซาก หรือการแบ่งแยกฝ่ายธรรมะจากฝ่ายอธรรม ไม่ใช่การพิพากษาว่าอัตตาเป็นสิ่งชั่วร้ายที่ต้องกำจัด แต่ต้องรู้ทันและเข้าใจมันอย่างทะลุปรุโปร่ง จนอัตตาไม่อาจมีอำนาจเหนือความรู้แจ้งของเราได้ เส้นทางจิตวิญญาณไม่ใช่เรื่องของการพยายามเปลี่ยนตัวเองให้เป็นคนดีมีศีลธรรม หรือหลีกหนีจากชีวิตแบบโลกย์ๆ แต่คือการเป็นตัวของตัวเอง ยอมรับตัวเองอย่างที่เป็น ภาคภูมิใจในความเป็นคน และตระหนักว่าศักยภาพแห่งการรู้แจ้งไม่ใช่สิ่งที่ต้องสร้างขึ้นใหม่ ทว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวเราทุกคนอยู่แล้ว
ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ นำเสนอเนื้อหาที่กระตุ้นเตือนชาวพุทธให้หันกลับมาตระหนักในเรื่อง “วัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ” อันหมายถึงการใช้หลักธรรมคำสอน เทคนิคปฏิบัติ และภาพลักษณ์สูงส่งทางจิตวิญญาณ เพียงเพื่อการหลอกตัวเอง การเสริมสร้างอัตตา หรืออัตลักษณ์ทางศาสนา ศีลธรรม ความดี บุญบารมี ปัญญาญาณ ขั้นการบรรลุธรรม ฯลฯ อย่างปราศจากการนำพุทธธรรมมาฝึกฝนปฏิบัติจริงในชีวิต
หนังสือเล่มนี้เป็นบทบรรยายธรรมชิ้นสำคัญที่สุดของ เชอเกียม ตรุงปะ ที่ถ่ายทอดจิตวิญญาณแห่งพุทธธรรมในหัวใจคนหนุ่มรุ่นใหม่จากธิเบต สู่ผู้คนในโลกตะวันตกอย่างไม่ประนีประนอม พุทธศาสนาในโลกตะวันตกไม่ได้มีสถานะหรือต้นทุนทางสังคมใดๆ ให้ผู้ศรัทธาหยิบฉวยมาสร้างอัตลักษณ์ทางศาสนา อีกทั้งคนส่วนใหญ่ยังรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับข้อบังคับ กฎเกณฑ์ และความรู้สึกผิดบาปจากศาสนาที่พวกเขาเคยยึดถือมาหลายชั่วคนอีกด้วย ดังนั้นก่อนเข้าสู่เส้นทางพุทธศาสนา ผู้คนเหล่านี้จึงต้องการแผนที่ที่สามารถบอกถึงหัวใจและรายละเอียดของเส้นทางทั้งหมดด้วยความเปิดเผยตรงไปตรงมา และหนังสือเล่มนี้ได้แสดงแผนที่นั้นไว้อย่างครบถ้วน
แม้ Cutting Through Spiritual Materialism จะเป็นหนังสือสำคัญทางพุทธศาสนาสายวัชรยานในโลกตะวันตก และเป็นคำสอนแรกที่ เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดในทวีปอเมริกาเหนือ ช่วงปี ค.ศ. ๑๙๗๐ และ ๑๙๗๑ แต่กล่าวได้ว่านี่เป็นหนังสือที่ “ไร้กาลเวลา” เพราะแม้จะผ่านมาถึง ๔๐ ปีแล้ว ทว่าแก่นพุทธศาสนาวัชรยานที่ได้รับการถ่ายทอดอยู่ในหนังสือเล่มนี้ยังคงสื่อสารได้กับผู้คนทุกยุคทุกสมัยและทุกวัฒนธรรม รวมทั้งสังคมไทยยุคปัจจุบันที่กำลังอยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงอย่างถึงราก
บริบทของหนังสือเล่มนี้มีความคล้ายคลึงกับปรากฏการณ์ทางจิตวิญญาณที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่ นั่นคือคำสอนทางศาสนามักถูกใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมสิ่งที่เข้ามาก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลง (ซึ่งมักถูกมองในฐานะสิ่งคุกคาม) เราจะรู้เท่าทันอำนาจการบิดเบือนคำสอนทางศาสนาของอัตตาได้อย่างไร? คำสอนทางจิตวิญญาณควรถูกนำมาใช้ในการตั้งคำถามกับความเป็นไปของสังคมและตัวเราเองอย่างไร? การแสวงหาคุณค่าทางจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ควรเป็นไปในทิศทางใดจึงจะสอดคล้องกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นจริงในชีวิต? เหล่านี้เป็นคำถามที่มีอยู่ในหัวใจของผู้แสวงหาสัจจะทุกยุคทุกสมัย
ในแง่สำนวนการแปล วิจักขณ์ พานิช ฉีกขนบงานแปลทางศาสนา ด้วยการใช้สำนวนภาษาที่เป็นกันเอง ติดดิน ตรงไปตรงมา และเต็มไปด้วยชีวิตชีวา เขาใช้ประสบการณ์จากการฝึกฝนอยู่ในสายปฏิบัติของ เชอเกียม ตรุงปะ ถ่ายทอดหัวใจสำคัญของการสื่อสารธรรมะที่ไปพ้นถ้อยคำ มีสไตล์การใช้ภาษาที่เต็มไปด้วยลูกเล่น สำนวน อุปมาอุปไมย คำประดิษฐ์ สแลง มุขตลก ยึดหลักการถ่ายทอดคำสอนปากเปล่า คือการใช้ภาษาพูด บทสนทนาโต้ตอบที่ไม่เป็นทางการ และมีความเป็นเสรีนิยมตามบริบทการสื่อสารธรรมะสู่คนหนุ่มสาวอเมริกันยุค ๗๐ ด้วยเหตุที่ว่า นั่นคือสิ่งสำคัญที่ทำให้งานชิ้นนี้มีความน่าสนใจและสามารถสื่อสารได้เหมาะสมกับบริบทที่พุทธศาสนาไทยในโลกสมัยใหม่กำลังเผชิญอยู่
นานาทัศนะต่อ "ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ"
http://www.facebook.com/note.php?saved&preview¬e_id=10150168987571173&id=102073626174
เนื้อหาบางส่วนจาก "ทะลวงวัตถุนิยมทางจิตวิญญาณ"
http://www.facebook.com/note.php?saved&preview¬e_id=10150168994936173&id=102073626174