"รูปไม่ได้ว่างเปล่าเพราะความว่าง ความว่างไม่ได้แยกขาดจากรูป รูปในตัวของมันเอง คือ ความว่าง ความว่างในตัวของมันเอง คือ รูป"
คำกล่าวนี้พบได้โดยทั่วไปในคัมภีร์มหายาน แสดงถึงหัวใจของคำสอนทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา/ มาธยมรรค) และเป็นข้อความพื้นฐานของพระสูตรวิมลเกียรติ
"รูป" แสดงถึงโลกที่คุ้นชิน โลกสัมพัทธ์ โลกสมมติจากการปรุงแต่งเชิงหลักการ ส่วน "ความว่าง" แสดงถึงเป้าหมายแห่งความโหยหาทางจิตวิญญาณ สัจธรรม ธรรมชาติจริงแท้ หรือการไปพ้น สภาวธรรมอันเป็นอนันตการ และไร้การเกิดตาย
ทว่าหากทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกัน อะไรเล่าคือเป้าหมายของพุทธศาสนา? และพุทธปรัชญาจะมีไว้เพื่ออะไร? ความเพียรในการปฏิบัติยังเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่? แล้วทั้งหมดจะไม่นำไปสู่ความว่างเปล่าของความเชื่อแบบตายแล้วสูญล่ะหรือ?
มีนักปรัชญามากมายที่หลงเข้าใจผิดว่าทางสายกลาง แบบที่สอนโดยวิมลเกียรติ นาคารชุน หรือพระพุทธะมหายาน ว่าเป็นคำสอนที่นำไปสู่การหมดสิ้นซึ่งคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางโลกหรือทางธรรม
คำกล่าวนี้พบได้โดยทั่วไปในคัมภีร์มหายาน แสดงถึงหัวใจของคำสอนทางสายกลาง (มัชฌิมาปฏิปทา/ มาธยมรรค) และเป็นข้อความพื้นฐานของพระสูตรวิมลเกียรติ
"รูป" แสดงถึงโลกที่คุ้นชิน โลกสัมพัทธ์ โลกสมมติจากการปรุงแต่งเชิงหลักการ ส่วน "ความว่าง" แสดงถึงเป้าหมายแห่งความโหยหาทางจิตวิญญาณ สัจธรรม ธรรมชาติจริงแท้ หรือการไปพ้น สภาวธรรมอันเป็นอนันตการ และไร้การเกิดตาย
ทว่าหากทั้งสองเป็นสิ่งเดียวกัน อะไรเล่าคือเป้าหมายของพุทธศาสนา? และพุทธปรัชญาจะมีไว้เพื่ออะไร? ความเพียรในการปฏิบัติยังเป็นสิ่งจำเป็นหรือไม่? แล้วทั้งหมดจะไม่นำไปสู่ความว่างเปล่าของความเชื่อแบบตายแล้วสูญล่ะหรือ?
มีนักปรัชญามากมายที่หลงเข้าใจผิดว่าทางสายกลาง แบบที่สอนโดยวิมลเกียรติ นาคารชุน หรือพระพุทธะมหายาน ว่าเป็นคำสอนที่นำไปสู่การหมดสิ้นซึ่งคุณค่า ไม่ว่าจะเป็นคุณค่าทางโลกหรือทางธรรม