30.11.07

interview with vichak II

another interview about my view on buddhadharma in Modern Thailand.

this will be published on "PostToday" this upcoming sunday.




“ในตัวบริบทของพุทธศาสนาที่จริงแล้วไม่มีอะไรเปลี่ยน มันคือธรรมะของการที่จะทำให้คนตื่นออกมาจากหลักการความคิดหรือความคาดหวังต่างๆ สู่ประสบการณ์ตรงของชีวิตมนุษย์คนหนึ่งที่มีเจ็บ มีปวด มีทุกข์ มีสุข ซึ่งพุทธศาสนาในแง่นี้คือ “ตื่น” ตื่นรู้ที่จะสัมผัสชีวิต แต่ภาษาในตอนนี้ที่ไม่สามารถสื่อถึงความตื่นตรงนั้นได้ เพราะตัวภาษาของพุทธศาสนาเองกลับไปสื่อสารถึงกรอบ กลับไปสื่อสารถึงหมวก กลับไปสื่อสารถึงความเป็นศาสนาที่ไปครอบกระบวนการตรงนั้นไว้อีกที

ผมจึงรู้สึกว่าพุทธศาสนาในโลกสมัยใหม่ทำอย่างไรถึงจะสื่อสารด้วยภาษาที่ง่าย ภาษาที่เข้าถึงชีวิตคนได้มากขึ้นและเข้าถึงคนร่วมสมัยที่ต้องการค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่หรือการที่จะทำประโยชน์และการเข้าใจตัวเองได้มากกว่า ตรงนี้ไม่ใช่หน้าที่ของผมที่จะมาคิดภาษาแต่เป็นหน้าที่ของผมที่จะทำอย่างไรถึงจะสร้างพื้นที่ให้คนที่สนใจเรื่องการฝึกฝนตัวเองและสามารถมาแลกเปลี่ยนกันได้ด้วยภาษาของคนรุ่นใหม่ที่พูดกันรู้เรื่อง”

<อ่านทั้งหมด>

ตีพิมพ์ครั้งแรกในคอลัมน์ ค.คนทูเดย์ หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์
ฉบับวันอาทิตย์ที่ ๒ ธันวาคม ๒๕๕๐
เสาวณีย์ เกษมวัฒนา สัมภาษณ์

29.11.07

keep in mind



Keep in mind, always, that the path is the goal. The process, how we engage one another and what we learn from this, are most important and more lasting than any objective result. All our thoughts and ideas, all of our hopes and fears are all ultimately dreams that will evaporate like dew under the morning sun. But, of course, our journey and the lessons it brings will be with us always, even after enlightenment.

Remember too, that meditation is our very life, it is our flesh and bones and the blood that runs through our veins. We will best accomplish our work together according to the wishes of the lineage if we continually return to the open ground, the groundless ground of our practice.

reggie ray

first step

what more do i have to say
what else do i have to do
words seem limited
life seems limitless

i

a dharma warrior of the Great East
planting vajra seeds

in people's heart






26-28 November 2007
meditation workshop with Rakluke Family Group
@panasrom
salaya, nakorn prathom, Thailand

26.11.07

อย่าแหย

สวัสดีเพื่อนๆทุกคน

ขอแบ่งปันคำพูดสั้นๆของหลวงพี่ไพศาลในการประชุมจิตวิวัฒน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ที่ทำเอาวิจักขณ์น้ำตาเอ่อ และกลับมามีศรัทธาในอุดมคติของชีวิตของคนเล็กๆที่คิดฝันทำอะไรบ้าๆ ได้อีกครั้ง


สู้กันต่อไปเถิดเพื่อนผอง...

อ่าน "จากกัลยาณมิตร (๓): พลังแห่งศรัทธา"
........................



ในการปฏิบัติธรรม คุณต้องเผชิญหน้ากับความกลัว เข้าไปในป่า เข้าไปเจอสิ่งเสียดแทงในชีวิตอย่างแรง จนคุณสามารถผ่านมันไปได้ พระอรหันต์หลายท่านได้สูญเสียลูก สูญเสียคนรัก เจ็บปวดทางใจมากมาย จนเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในของเขา

สำหรับถ้าเรามองเรื่องจิตวิวัฒน์ เราต้องมีความเชื่อว่าคนเราเปลี่ยนแปลงได้ อาตมาคิดว่าโอกาสแห่งความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นจากการที่คนเราโดนบีบคั้นอย่างรุนแรง คือ พอมันตั้งจิตไว้ได้ถูก ยิ่งเจอความรุนแรงมากเท่าไหร่ เจออุปสรรคในชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเพื่อนมนุษย์มากเท่าไหร่ มันยิ่งเกิดศรัทธาในมนุษย์มากขึ้น มันยิ่งซาบซึ้งศรัทธาในเมตตาและความรักมากขึ้น และสิ่งนั้นจะเข้าไปชนะใจคนรอบข้างได้

วิวัฒนาการทางจิตไม่ใช่การนั่งในห้องสมาธิ หรือเพียงแต่สัมผัสกับฌาณสมาบัติ แต่เราต้องเข้าไปเผชิญกับการเสียดแทงร้อนแรงในประสบการณ์จริงของชีวิต

อีกอย่างก็คือเราต้องพร้อมที่จะเชื่อในความเป็นไปได้จากสภาวะการณ์ที่เป็นไปไม่ได้ (thinking impossible) นี่คือศรัทธา ถ้าเราเชื่อในจิตวิวัฒน์ เราต้องมีศรัทธา กล้าที่จะคิดในสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ เพราะอะไร...เพราะคนที่เชื่อเรื่องความรุนแรง และความเกลียดชังมีความเชื่อมั่นในวิธีการของเขามาก จริงๆแล้วมันมีไม่กี่คนในโลก แต่เพราะคนพวกนี้มีความเชื่อความศรัทธาอย่างแรง คือ เอาตัวเองเป็นประจักษ์พยาน

จึงเป็นคำถามที่ว่า พวกที่เชื่อเรื่องสันติวิธีหรือเชื่อเรื่องจิตวิวัฒน์ เราจะอยู่แบบสบายๆ แฮ้ปปี้ๆ วันเด้อฟูล บิ้วตี้ฟุล แค่นั้นเหรอพอมั๊ย....ไม่พอ มันต้องมีความเชื่อมั่นที่แรงพอๆกัน แต่แรงในแบบของสันติวิธี และเชื่อว่าในความเป็นไปไม่ได้นั้นมีโอกาสของความเป็นไปได้สูงมาก เพราะฉะนั้นอาตมาจึงไม่เชื่อในการจะปล่อยโลกให้เป็นไปตามยถากรรม เพราะนั่นมันไม่ใช่สิ่งที่จะช่วยทำให้เกิดจิตวิวัฒน์ได้ เราต้องเข้าไปเผชิญด้วยความศรัทธาในการเปลี่ยนแปลงภายในของมนุษย์

อย่างที่ท่านอาจารย์พุทธทาสบอกว่า ในกลางเตาหลอมเหลว มีจุดที่เยือกเย็นอยู่ ในใจของเราพร้อมที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในขั้นวิกฤติได้ท่ามกลางการบีบคั้นและกดดันอย่างแรง และเราก็เชื่อว่าความงอกงามในใจนั้นสามารถปลุกความหวังให้กับคนเล็กคนน้อยได้

พระไพศาล วิสาโล

(เรียบเรียงจาก ไฟล์บันทึกเสียงการประชุมจิตวิวัฒน์ วันจันทร์ที่ ๑๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๐ ณ มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ)

25.11.07

หัวใจที่แตกสลาย

วิจักขณ์ พานิช




เมื่อความรักเพรียกหา...
สะกิดหัวใจอันเปราะบางให้สั่นไหว
จงตามเสียงแห่งรักไป
ในดินแดนที่ไม่มีใครเคยรู้จัก

แม้นหนทางจะสูงชัน
เต็มไปด้วยอุปสรรค
แม้นยามที่ปีกแห่งรักรัดรึง
จงไร้ซึ่งแรงต้าน

แม้นยามที่คมดาบใต้ปีกรัก
บาดใจให้เป็นแผล
หรือแม้นยามที่เสียงเพรียกแห่งรัก
หักภาพงามแห่งความฝันให้แตกสลาย
จงศิโรราบให้กับเสียงด้านใน
ด้วยหัวใจแห่งการเรียนรู้ที่จะรัก

ความรักไร้ซึ่งความปรารถนา
นอกเสียจากความปรารถนาที่จะรัก
แต่หากจะรักและไม่อาจเลี่ยงแรงปรารถนา
จงให้สิ่งนี้เป็นความปรารถนา

ปรารถนาที่จะหลอมละลาย
กลายเป็นสายน้ำที่ไหลริน
ขับร้องเป็นท่วงทำนองแห่งรัตติกาล
ปรารถนาที่จะสัมผัสความเจ็บปวด
จากความเปราะบางที่เต็มเปี่ยม
ปรารถนาที่จะรับบาดแผล
จากความเข้าใจในรัก
และปรารถนา...
ที่จะปล่อยให้เลือดรินไหล
ด้วยความเต็มใจและปีติ

( ถักทอและร้อยเรียง จาก The Prophet โดย Kahlil Gibran)

5.11.07

interview with vichak

here we go. a very odd "interview with vichak" on the Manager Daily.



"การเดินทางของคำถามที่ถูกลืม"
บทสัมภาษณ์ วิจักขณ์ พานิช บนเส้นทาง “เรียนรู้ด้วยใจอย่างใคร่ครวญ”

คอลัมน์ปริทรรศน์ หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ ๑๒ ตุลาคม ๒๕๕๐

"ผมไม่มีหน้าที่จะไปให้คำแนะนำกับใครในเรื่องของการใช้ชีวิต แต่โดยส่วนตัวมีเป็นแรงบันดาลใจที่อยากจะสร้างพื้นที่ให้คนร่วมสมัยได้มีโอกาสค้นหาตัวเอง เป็นพื้นที่ที่ปลอดภัยจริงๆ ที่ได้พูดคุยถึงประสบการณ์ด้านในของชีวิตโดยที่ไม่ถูกตัดสิน ผมรู้สึกว่าคนรุ่นใหม่น่าจะมีพื้นที่อย่างนี้มากขึ้น แทนที่จะถูกตัดสินตลอดเวลาว่าเจ๋ง ไม่เจ๋ง ดี ไม่ดี จากสังคมหรือคนรอบข้าง...

...<อ่านต่อทั้งหมด>"

4.11.07

vajra dharma



A cripple runs on the primordial plain.
A mute proclaims the dharma of prajna.
A deaf man listens to the command of mahayana.
At that time, mahamudra arises.
Saraha bursts out laughing.
The only father guru is very pleased.
Chögyam is drunk with the liquor of one taste.
At that time, a ganachakra occurs.
At that time, Marpa Lotsawa laughs.
From the suchness of the fourth abhisheka,
The transcendent world manifests.

No dharma, no source of dharma,
No existence, no manifestation of existence,
The dakini who devours the three worlds,
I pay homage to you who dry up the ocean.

Because I have no father or mother,
I always dwell alone.
Because I have no friends,
I am always surrounded by mirage friends.
These friends are like a treacherous pathway.
These parents are like poisonous food.
I am without friends or parents.
Always joyful, cultivating disciples,
I take delight in cultivating the dharma kingdom.
Getting old, still I grow younger.


Chögyam Trungpa

26 May 1979
Vajradhatu Seminary, Chateau Lake Louise